วันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556

ขีปนาวุธ SMEs ยุค 3G จัดการธุรกิจ ผ่าน App โดนๆ



เกิดเป็นเอสเอ็มอีในยุค 3G ต้องไม่ตกยุค ลองใช้ Mobile Application จัดการงานหลังบ้านและหน้าบ้าน ในเสี้ยววินาทีที่ปลายนิ้ว...คลิก!!

แอพพลิเคชั่นโดนๆ ที่ปรากฏตัวในงานเปิดม่าน “ECIT Mobile Application for SMEs” เข้าทางและโดนใจ ผู้ประกอบการไทยยุค 3G เอามากๆ
ในยุคที่เทคโนโลยีวิ่งแซงหน้าทุกอย่าง และก้าวไกลกว่าที่ใครๆ คิด ชนิดที่เอสเอ็มอีจะปฏิเสธ และทำมึนต่อไปอีกไม่ได้ เพราะนี่ไม่ใช่แค่การสร้างโอกาสธุรกิจ ทว่ายังรวมระบบปฏิบัติการที่จะเป็นลูกมือช่วยผู้ประกอบการพันธุ์เล็ก ให้สามารถทำงานได้ง่ายขึ้น ประหยัดเวลา ลดต้นทุน ทั้งยังเพิ่มยอดขาย
ที่สำคัญไม่ต้องลงทุนกับเงินมหาศาล เพราะบริการที่ว่านี้ มีค่าใช้จ่ายเท่ากับ “ศูนย์”

ECIT Mobile Application for SMEs” คือโครงการต่อเนื่องของ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ที่สานต่อจากโครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันอุตสาหกรรมไทยด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ECIT (อีซี่ไอที) การใช้ระบบไอทีผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาช่วยเหลืออุตสาหกรรม ที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2552 จนต่อยอดสู่ 11 แอพลิเคชั่นสำหรับเอสเอ็มอีในวันนี้

“ปัญหาสต๊อกบวมเป็นเรื่องปกติของเอสเอ็มอี ถ้าเขาไม่มีระบบการจัดการมาบริหารคลังสินค้า ก็จะไม่รู้เลยว่าตอนนี้ สต๊อกวัตถุดิบและสินค้ามีเท่าไร ต้องสั่งเพิ่มเท่าไร ฝ่ายจัดซื้อก็จะสั่งของเกินมาก่อน ซึ่งก็กลายเป็นต้นทุน แต่ระบบของเราจะคำนวณให้เสร็จในขั้นตอนเดียว และจะรายงานทุกอย่างแบบพอดีเป๊ะ! เพราะฉะนั้นคอนเซ็ปต์ก็คือ สต๊อก เท่ากับ 0”

อภิรักษ์ เชียงเจริญ Business Development Director จากบริษัท ดับเบิล เอ็ม เทคโนโลยี แมเนจเม้นท์ จำกัด แนะนำแอพพลิชั่น Double M Sales 2 Go โปรแกรมที่ช่วยตรวจสอบสินค้าคงคลัง และบันทึกคำสั่งซื้อขายผ่านระบบ 3G หรือ wifi ได้แบบทุกที่ ทุกเวลา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจ เหมาะกับกิจการทั้งเล็กและใหญ่ จะซื้อมาขายไป หรือ การผลิต ระบบก็พร้อมรองรับ

วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556

เบื้องหลัง “ทฤษฎีการตลาดก้องโลก” ของ ‘ฟิลิป คอตเลอร์’

“ฟิลิป คอตเลอร์”ระเบิดความคิด ธุรกิจไม่เพียงขายของ เรียกร้องแต่กำไรเยอะๆ แต่ต้องมีส่วนสร้างโลกให้น่าอยู่ ดูเป็นเรื่องอุดมคติแต่เกิดขึ้นจริง



ฟิลิป คอตเลอร์ ศาสตราจารย์กิตติคุณด้านการตลาดระหว่างประเทศ ประจำคณะบริหารธุรกิจ The Kellogg School of Management มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสต์เทิร์น สหรัฐอเมริกา เขาคือนักเศรษฐศาสตร์ผู้ผันตัวเองไปเป็นนักคิด นักวางแผนการตลาด ถูกยกย่องให้เป็นกูรูการตลาดผู้วางชั้นเชิงกลยุทธ์ขับเคลื่อนธุรกิจได้อยู่หมัด จากการผู้อ่านโลกและเทรนด์การตลาดยุคหน้าที่ใช่
กูรูผู้นี้ยังอยู่เบื้องหลัง เป็นที่ปรึกษาในการวางแผนกลยุทธ์การตลาดองค์รวม ตลอดจนการตลาดระหว่างประเทศ ให้กับคอร์เปอเรทชั้นนำ อาทิ IBM, General Electric (GE), AT&T, Honeywell, Bank of

America, Merck รวมไปถึงให้คำปรึกษาไปยังรัฐบาลเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะและตำแหน่งบุคลากร รวมถึงทรัพยากร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถแข่งขัน

สาวกทางการตลาดทั้งอาจารย์และคนมีชื่อเสียง รวมถึงนักการเมืองในไทยหลายรายต่างเคยเป็นลูกศิษย์ลูกหาของท่านปรมาจารย์คอตเลอร์ อาทิ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการ Sasin Institute for Global Affairs (SIGA) ทั้งสองท่านเป็นคีย์แมนผู้เคยวางยุทธศาสตร์ประเทศ (ไทยแลนด์ อิมเมจ) เมื่อครั้งร่วมงานกับรัฐบาล

คอตเลอร์ เขียนหนังสือมาแล้วกว่า 50 เล่ม ได้รับการตีพิมพ์ผลงานลงในวารสารและสิ่งพิมพ์ชั้นนำกว่า 150 บทความ ตลอดจนเป็นเจ้าของตำรา Marketing Management ที่เหล่านักศึกษาด้านการตลาดตั้งแต่ปี พ.ศ.2510 (ค.ศ.1967) จนปัจจุบันถูกนำมาพัฒนาปรับปรุงใหม่แล้วกว่า 14 Editions

คอตเลอร์ ผู้เฒ่าวัย 82 ผู้มีบุคลิกสวนทางกับอายุ เต็มเปี่ยมไปด้วยพลัง มีความกระฉับกระเฉงในการสอน แม้เขาต้องบินไกลเพื่อมาสอนในหัวข้อ ”Values Driven Marketing” ที่จัดโดย นสพ.กรุงเทพธุรกิจ แต่กลับยังคงฉายภาพการเปลี่ยนผ่านยุครอยต่อของการตลาดได้อย่างคึกคัก มุ่งมั่น อัดแน่นด้วยองค์ความรู้
เขาบอกว่าที่ทำแบบนี้ได้เพราะเขาเต็มไปด้วย passion ที่ใช้เป็นแรงขับเคลื่อนชีวิตและจิตใจ อายุจึงไม่ได้เป็นอุปสรรค ลึกๆ ปรมาจารย์การตลาดผู้นี้หวังจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะใช้ความรู้ที่สั่งสมมาเพื่อออกแบบการตลาดเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีน่าอยู่ กระจายรายได้อย่างเท่าเทียม

สื่อดิจิตอลร้อนแรงจัด นักการตลาดตอมฉุดแพลตฟอรืมใหม่เกิด


"ดิจิตอล มีเดีย"เนื้อหอมสุดๆ เอเยนซีโหมทุ่มงบลุยตลาดจริงจัง "กรุ๊ปเอ็ม" เผย 4 เทรนด์ใหม่นักการตลาดรุมเล่น จับตาคลิปวิดีโอยังมาแรง ด้าน "ธอมัสไอเดีย" คาดตลาดหนังสือ นิตยสารลดลงหนีสื่อรูปเล่มเข้าสู่แพลตฟอร์มใหม่

ล่าสุดจับมือเอ็กซ์เอ็มเอเชียชูจุดแข็งสู่เครือข่ายดิจิตอลเอเยนซีแห่งเอเชีย ขณะที่สื่อโฆษณาดิจิตอลในประเทศไทยปีนี้จะขยายตัวสูงเพิ่มขึ้นเป็น 5% จากมูลค่าสื่อทั้งหมด 1.2 แสนล้าน
การเติบโตอย่างร้อนแรงของสื่อดิจิตอลในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ยังไม่มีทีท่าว่าจะซาลงง่ายๆ ในทางตรงข้าม กลับมีบทบาทและถูกจับตามองว่าจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวงการสื่อเมืองไทย โดยเฉพาะการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี เส้นทางของสื่อดิจิตอล จะกลายเป็นผู้นำด้วยแพลตฟอร์มใหม่ๆ ซึ่งผู้ประกอบการไทยเองไม่ว่าจะในแวดวงใดก็ต้องเรียนรู้ที่จะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

   โดยเรื่องดังกล่าวนายศิวัตร เชาวรียวงษ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอ็มอินเตอร์แอ็คชั่น จำกัด เปิดเผยว่า ปีนี้บริษัทมองว่าสื่อดิจิตอลจะขยายตัวมากขึ้นจากปีที่ผ่านมา อีกทั้งยังมีแนวโน้มที่จะถูกนำไปใช้ผ่าน 4 รูปแบบ ประกอบไปด้วย

1. Integrated การวิเคราะห์พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคแต่ละกลุ่มเป้าหมาย โดยสำรวจจากลูกค้าที่เสิร์ชหาข้อมูลผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด ว่ามาจากเว็บใดและซื้อที่ไหน

2. DSPs (Demand Side Platforms) นักการตลาดจะเลือกซื้อสื่อออนไลน์เฉพาะกลุ่ม เนื่องจากผู้บริโภคในปัจจุบันฉลาดมากขึ้นอีกทั้งยังช็อปปิ้งผ่านทางออนไลน์มากกว่าเดิม ดังนั้นนักการตลาดจำเป็นจะต้องใช้เงินของลูกค้าให้เกิดประโยชน์สูงสุด

วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

QR Code ทำได้ “ห้องสมุดเสมือนที่ป้ายรถเมล์”

เมืองหนึ่งในประเทศออสเตรียนั้นบรรจุห้องสมุดเสมือนไว้ในสติกเกอร์พิมพ์ลาย QR code สำหรับนำไปติดไว้ตามสถานที่สาธารณะ ซึ่งเมื่อประชาชนพบเห็น ก็จะสามารถดาวน์โหลดหนังสืออิเล็กทรอนิกส์หรือ e-book ไปอ่านได้บนอุปกรณ์ของตัวเอง


โครงการนี้ใช้ชื่อว่า Projekt Ingeborg ขณะนี้มีการพิมพ์สติกเกอร์ 70 ชิ้นซึ่งประกอบด้วยเทคโนโลยี QR code และ NFC โดยจะนำไปติดไว้ในพื้นที่สาธารณะที่มีประชาชนจำนวนมากผ่านไปมา ทั้งหมดนี้เริ่มดำเนินการแล้วในเมือง Klagenfurt ของออสเตรียช่วงต้นปีที่ผ่านมา ท่ามกลางความเห็นจากประชาชนที่รู้สึกว่าห้องสมุดเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ง่ายขึ้น


เมือง Klagenfurt เป็นเมืองที่ไม่มีห้องสมุดสาธารณะ โครงการนี้จึงเกิดขึ้นบนความร่วมมือกับหน่วยงานขนส่งมวลชนในเมืองเพื่อติดสติกเกอร์ QR code สีเหลืองสดที่มองเห็นได้ง่าย โดยทั้งหมดจะเป็นช่องทางให้ผู้ใช้ได้อ่านหนังสือที่ต่างกัน 70 เรื่อง คาดว่าจะมีการขยายกลุ่มไปยังนักเขียนรุ่นเยาว์เพื่อขยายกลุ่มผู้อ่าน

ก่อนหน้านี้ ประเทศสเปนก็เคยรณรงค์ให้ประชาชนรักการอ่านในโครงการ National Reading Plan ด้วยการใส่ลิงก์เนื้อหาบทแรกของหนังสือลงใน QR code ซึ่งถูกติดไว้ที่รถไฟสาธารณะ ตอกย้ำว่านี่เป็นเทรนด์แรงที่ผู้อยู่ในอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ไม่ควรมองข้าม


บทความจาก marketingoops
http://bit.ly/OBmmoR

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

"โนเกีย" เมื่อผู้นำเป็นผู้ตาม แค่เพลี่ยงพล้ำ แต่(ยัง)ไม่แพ้ ?



สำหรับผู้นำตลาดที่ยืนยงคงกระพันมานานนับสิบปี อย่าง "โนเกีย" คงยากทำใจเหมือนกันที่มาวันนี้ต้องอยู่ในสถานะผู้ตามในสมรภูมิ "สมาร์ทโฟน" ซึ่งเป็นอนาคตของธุรกิจนี้


ในภาพรวม "โนเกีย" อาจยังรักษาสถานะผู้นำอันดับหนึ่งเอาไว้ได้ แต่ถ้าโฟกัสเฉพาะ "สมาร์ทโฟน" ในตลาดโลก ณ ไตรมาสที่ 2 ปีนี้ เสียแชมป์ให้ "ซัมซุง" ไปแล้วร้อย ในเมืองไทยก็ไม่แตกต่างกันนัก

"ตลาด ที่เริ่มเทไปยังสมาร์ทโฟนมากขึ้น โดยเฉพาะในรุ่นไฮเอนด์ ซึ่งเราไม่สามารถลงไปได้เพราะไม่มีภาษาไทยให้ใช้ แต่ถ้ามองเครื่องระดับเริ่มต้นถึงกลาง เรายังไปได้ รวมถึงฟีเจอร์โฟนยังคงเป็นจุดแข็งที่ทำให้โนเกียยังคงมีมาร์เก็ตแชร์เป็น เบอร์ 1 ในแง่จำนวน" แกรนท์ แมคบีธ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โนเกีย (ประเทศไทย) จำกัด ยอมรับ

กลางสมรภูมิการแข่งขันที่ดูเหมือนว่า "ผู้นำ" จะตกเป็นรอง หนักแค่ไหนไม่รู้ แต่ร้านขายเครื่องมือสองบางแห่งถึงขั้นไม่ยอมรับซื้อสมาร์ทโฟนมือสองของโน เกีย

ความภักดีในแบรนด์ "โนเกีย" ที่เชื่อว่ายังอยู่ จะช่วยให้ "โนเกีย" ยืนระยะในฐานะผู้นำตลาด (ในแง่จำนวนเครื่อง) ได้อีกนานแค่ไหน

"ประชาชาติธุรกิจ" มีโอกาสพูดคุยกับกรรมการผู้จัดการ โนเกีย ประเทศไทย ดังนี้

โลกยุค 3.0 ปลุกกระแส Faith Marketing



โลกเปลี่ยนเร็ว แข่งขันสูง ทุกข์มาก ต้องการที่พึ่ง ส่งให้ "การตลาดความศรัทธา"เกิดขึ้นหลากอีเวนท์ สนองจริตของผู้คน นี่คือปรากฎการณ์ วันนี้

พุทธชยันตี 2,600 ปีแห่งการตรัสรู้ พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นผ่านกาลเวลานับพันปี ในหลากหลายนิกายและลัทธิความเชื่อของผู้ถ่ายทอด บนเป้าหมายเดียวกันคือ การมุ่งหาหนทางแห่งการดับทุกข์


ทว่าภายใต้บริบทของโลก (สังคม เศรษฐกิจ ธุรกิจ ภัยธรรมชาติ ฯลฯ) ที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ในโลกยุค 3.0 การหา "ที่ยืน" ในสังคมเป็นเรื่องยากกว่าเดิม จากการแข่งขัน (แก่งแย่ง) ที่มีมากขึ้น ภายใต้ทรัพยากรที่มีจำกัด   สิ่งเหล่านี้ทำให้ "คนทุกข์มากขึ้น" !!!

สิ่งที่เห็นในไทย "ธรรมะ" กลายเป็นหนทางเยียวยาจิตใจยอดฮิต สังเกตจากผู้คนในปัจจุบัน ที่หันหน้าเข้าหาวัด หรือ สถานปฏิบัติธรรม กันมากขึ้น ผ่านการส่งสารอธิบายหรือแปลความธรรมะในหลากหลายกิจกรรม (อีเวนท์) ขึ้นอยู่กับจริตของผู้คนในระดับปัจเจก ที่มักจะล้อไปกับความก้าวล้ำของเทคโนโลยี ที่เปลี่ยนพฤติกรรมของผู้คนในสังคม (บางส่วน) ให้ "อดทนต่ำ" ลง

นักการตลาดเรียกปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นว่า "การตลาดบนความศรัทธา" (Faith Marketing)

กรุงเทพธุรกิจ BizWeek ฉายภาพความศรัทธาที่ถูกสื่อสารผ่าน "กิจกรรม" ด้วยหลากวิธีการนำเสนอ (Presentation) "แบบไม่มีผิด ไม่มีถูก" เหมือนอาหารที่ใครชอบแบบไหนก็เสพแบบนั้น ภายใต้ผลลัพธ์เดียวกัน คือ การเยียวยาจิตใจผู้คน (รู้สึกอิ่ม มีความสุขที่ได้เสพ)


ถือเป็นการปรับรูปแบบการนำเสนอธรรมะ ให้เข้ากับพฤติกรรมของผู้คนในสังคมที่เปลี่ยนไป !

จริตของผู้คนที่ชอบ "ความเร็ว" ในแบบฉบับไฮสปีด ธรรมะต้อง"เข้าถึงง่าย"เมื่อคิดว่าตัวเองมีทุกข์ และแปลงความทุกข์เป็นเรื่องของกรรมเก่า ก็ต้อง "ตัดกรรม แก้กรรม สแกนกรรม ดีลีทกรรม" ในทางการตลาดนี่คือหนึ่งในโปรดักท์ที่ถูกนำเสนอให้เข้ากับจริตผู้คน แถมกระแสยังแรง สังเกตจากหนังสือที่มีเนื้อหาเหล่านั้น มักจะติดเบสท์เซลเลอร์

วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555

ธุรกิจกับ "โมบายแอป"



มีบทความชิ้นหนึ่งในนิตยสารฟอร์บส ที่ยีน มาร์คส เขียนเอาไว้อย่างน่าสนใจสำหรับคนทำธุรกิจ ซึ่งน่าจะรวมไปถึงองค์กรต่าง ๆ ด้วย เขาขึ้นต้นบทความด้วยคำถามว่าธุรกิจของคุณจำเป็นต้องใช้โมบายแอป โลกเขาโมบายกันหมดแล้ว และตัวเลขยอดสมาร์ทโฟนและไอแพดก็เป็นสิ่งยืนยันได้เป็นอย่างดีว่าทั้งโลกกำลังเข้าสู่ยุคโมบายกันหมดแล้ว


แต่ทำไมธุรกิจของพวกเราถึงไม่สามารถใช้โมบายเทคโนโลยีให้ได้ดีกว่านี้ ทั้ง ๆ ที่พนักงานก็ใช้สมาร์ทโฟนกันทั้งที่บริษัทซื้อให้ ทั้งที่ซื้อใช้กันเอง แต่รู้สึกไหมว่าใช้ของพวกนี้ต่ำกว่าศักยภาพจริง ๆ ที่มันทำได้ ดูเหมือนบริษัทจะไม่สามารถทำให้พนักงานมีผลิตภาพมากขึ้นได้

มาร์คสว่าไม่ต้องห่วงหรอก ปัญหานี้เกิดกับทุก ๆ คน มีคนที่รู้สึกแบบนี้เช่นเดียวกันกับคุณ เขายกตัวอย่างว่าบริษัทของเขาขายแอปพลิเคชั่นสำหรับการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า มีลูกค้าอยู่ 600 ราย เป็นโมบายโซลูชั่นที่ทำงานกับแอปพลิเคชั่นที่เขาขาย แต่สิ่งที่เขาพบก็คือไม่มีรายไหนทำได้ดีมากจริง ๆ เอาเสียเลย

มาร์คสบอกว่าการก้าวมาใช้โมบายแอปปลิเคชั่นไม่ได้เป็นเรื่องผิดพลาด แต่ปัญหาอาจจะอยู่ที่ไม่ได้นำมาใช้จริง ๆ ด้วยเหตุผลหลายอย่าง กล่าวคืออาจจะไม่ได้ตัดสินใจถึงวัตถุประสงค์ของเทคโนโลยีที่เอามาใช้เช่น จะร่นระยะเวลาการทำงานลง จะเพิ่มคำความเร็วระหว่างการรับคำสั่งซื้อ