วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

คว้าโอกาสกับศาสตร์แห่งการชอปปิง

คว้าโอกาสกับศาสตร์แห่งการชอปปิง Why We Buy :The Science of Shopping



การเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันบางครั้ง เกิดขึ้นแรงและรวดเร็ว โดยอย่างที่เราไม่คาดคิด เห็นได้ชัดเจนคือปัญหาจากภัยธรรมชาติ

ในแง่การตลาดการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ มีผลกระทบโดยตรงต่อพฤติกรรมผู้บริโภค เป็นทั้งวิกฤติและโอกาส ขึ้นอยู่กับว่าเรามองการเปลี่ยนแปลงนั้นอย่างไร และมีความยืดหยุ่นเพียงพอหรือไม่ ที่จะปรับเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส

วันนี้ดิฉันอยากจะนำเสนอหนังสือเล่มหนึ่ง ให้กับนักการตลาดและนักบริหารทุกท่าน หนังสือเล่มนี้ เป็นแรงบันดาลใจสำคัญทำให้ดิฉันตัดสินใจเข้ามาอยู่ในแวดวงของนักวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภค คือหนังสือที่ชื่อว่า “Why We Buy : The Science of Shopping (ศาสตร์แห่งการชอปปิง)” โดย Paco Underhill (พาโค่อันเดอร์ฮิลล์) เป็นหนังสือติดอันดับขายดีที่สุดในสหรัฐอเมริกาติดต่อกันกว่าทศวรรษ และเป็นคัมภีร์ของนักการตลาดทั่วโลกจวบจนปัจจุบัน

เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ สอนให้นักการตลาดรู้จักความสำคัญของการเฝ้าสังเกต (Observation) ให้เห็นโอกาสการทำความเข้าใจกับสิ่งที่มีอยู่อย่างลึกซึ้ง เพื่อหาข้อเท็จจริง หรือสิ่งที่เราคิดว่าดีอยู่แล้ว ว่ามีความผิดพลาดใดๆ ซ่อนอยู่หรือไม่ การสังเกตเห็นรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ หรือการเปลี่ยนแปลงเพียงนิดหน่อย อาจสร้างผลดีต่อสินค้า และยอดขายได้อย่างมากมายมหาศาล

พาโค่ ได้อธิบายหลักการ และผลของการสังเกตสถานการณ์จริงที่เขาและทีมงานกว่า 40 ชีวิต ได้ใช้เวลาเฝ้าสังเกตนักชอปปิงในซูเปอร์มาร์เก็ตในสหรัฐอเมริกา จากกล้องวีดิโอที่ซ่อนไว้ และจากการจดบันทึก ผลที่ได้รับนำมา ซึ่งการเพิ่มโอกาสทางการขายได้อย่างไม่น่าเชื่อ ตัวอย่างเช่น

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สูตรสร้างแบรนด์ และมาร์เก็ตติ้งให้ยั่งยืน


ส่วนใหญ่ลูกค้าทุกคนต้องการกำไรมากๆ โจทย์ที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องในอาชีพของผมคือ ลูกค้าต้องการแบรนด์แคมเปญเพื่อไปสร้างยอดขาย

แต่สิ่งที่เราต้องกลับมาตั้งต้นคือ เวลาพูดถึงเรื่องมาร์เก็ตติ้ง หลายคนพูดถึงเรื่องการซื้อ และการขาย แต่ความเป็นจริงแล้วมาร์เก็ตติ้งมีสิ่งที่ซ่อนอยู่

หลักก็คือต้องหากลุ่มเป้าหมายให้ได้ก่อน และต้องรักษากลุ่มเป้าหมาย จากนั้นต้องสร้างการเจริญเติบโตของกลุ่มเป้าหมายให้ได้ในจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ใหญ่ขึ้น จากนั้นเป็นการสร้าง การส่งมอบ และการสื่อสารต่างๆ ในสิ่งที่แบรนด์ของเรามีออกไปสู่ข้างนอก

ลูกค้าส่วนใหญ่ให้ทำในสิ่งที่เป็นฟีเจอร์ แต่ลืมไปว่า ถ้าจะตีคำว่า Sustainability หรือความยั่งยืนให้องค์กรอยู่ได้อย่างน้อย 50 ปี ธุรกิจต้องใส่ทุกอย่างลงไป ไม่ใช่แค่ยอดขาย

เพราะยอดขายจะมาได้อย่างไรหากพนักงานไม่ได้ดูแลสังคม องค์กรไม่ได้ดูแลสังคม ซัพพลายเชนต่างๆ

การตลาด 3.0 ในความเห็นส่วนตัวของผม คือ การร่วมด้วยช่วยกัน (คนละไม้คนละมือ) แต่ละคนช่วยกันอุทิศ ช่วยกันให้อีกสักนิดสักหน่อย เพื่อทำให้สังคมนี้มีคุณค่าและมีความสง่างาม

ศาสตร์การตลาดยุค"โซเชียลเน็ตเวิร์ค"



กระแสฮิต "โซเชียล เน็ตเวิร์ค" ในปัจจุบัน หากย้อนดูในอดีต อาจเทียบเคียงง่ายๆ ได้กับ "สภากาแฟ" ที่เป็นการรวมตัวของกลุ่มต่างๆ

ร่วมกิจกรรมกันในรูปของ "สมาคม" ทั้งหลาย ถือเป็นยุคแรกของ "โซเชียล เน็ตเวิร์ค" ในไทย ที่นักการตลาดได้เรียนรู้มาก่อน แต่ในยุค "ดิจิทัล" เมื่อเป็นเครือข่ายสังคมที่ติดต่อสื่อสารกันได้ง่าย สะดวก และรวดเร็วขึ้น ศาสตร์และกลยุทธ์การสื่อสาร จึงต่างไปจากเดิม

เกรียงกานต์ กาญจนะโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากประสบการณ์ด้านการตลาดมากว่า 20 ปี หรือในยุคที่ "ดิจิทัล โซเชียล เน็ตเวิร์ค" ยังไม่เป็นกระแสฮิต เข้ายึดพื้นที่การสื่อสารในโลกออนไลน์ของกลุ่มคนรุ่นใหม่ในปัจจุบัน

กระแสที่เรียกว่า "ดิจิทัล โซเชียล เน็ตเวิร์ค" เริ่มได้รับความสนใจจากคนไทย อยู่ในช่วงการชุมนุมเสื้อแดงเมื่อ เม.ย.2553 โดยเฉพาะพื้นที่ใน "เฟซบุ๊ค" ถูกใช้แสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง จนทำให้เกิดกลุ่ม "มั่นใจคนไทยเกินล้าน" ขึ้นหลายเพจ แต่ละเพจคนเข้ามากด like นับแสนราย

วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2554

การเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค

จากการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค และนวัตกรรมของโทรศัพท์มือถือที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีผลโดยตรงกับการทำตลาดของทั้งตัวโทรศัพท์มือถือเอง และสินค้าต่างๆ ที่ต้องใช้มือถือ เป็นเครื่องมือหนึ่งในการทำตลาด และการเข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก
 ล่าสุด ทีเอ็นเอส ได้เปิดตัว ทีเอ็นเอส โมบายไลฟ์ 2011 ซึ่งเป็นงานศึกษาทั่วโลกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดด้านการใช้โทรศัพท์มือถือของผู้บริโภค ทีเอ็นเอส โมบายไลฟ์ 2011 เป็นผลจากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างกว่า 34,000 ตัวอย่างใน 43 ประเทศและใช้เวลากว่า 25,000 ชั่วโมงและเข้าสู่ปีที่ 6 ของการศึกษานี้ จึงเอื้อให้สามารถเข้าใจประสบการณ์ของผู้บริโภคที่มีต่อความคล่องตัวอันเกิดจากการใช้โทรศัพท์มือถือ รวมทั้งได้ทราบถึงแง่มุมเชิงลึกเกี่ยวกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงการใช้โทรศัพท์มือถือในวันข้างหน้า

 ผลวิจัยทีเอ็นเอสเผยข้อด้อย ของการตกกระแสความเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบนมือถือ พบว่า
 -  กลุ่มผู้บริโภคที่พอใจได้ยาก ยังคงเป็นแรงผลักดันให้ตลาดมือถือที่มีเทคโนโลยีล้ำหน้ามีการเติบโต โดยสิ่งสำคัญคือการพัฒนาฟังก์ชันต่างๆ เกี่ยวกับวิดีโอทั้งการโทรศัพท์แบบเห็นหน้า การดูคลิปวิดีโอทางอินเตอร์เน็ตผ่านมือถือโดยไม่ได้โหลดมาเก็บไว้ดูภายหลัง และการดาวน์โหลดวิดีโอ
 -  ยี่ห้อโทรศัพท์มือถือยังคงมีความสำคัญแต่ก็กำลังเปิดทางให้แบรนด์ด้านคอนเทนต์ อีกทั้งการร่วมมือกันระหว่างแบรนต่างๆก็เริ่มมีบทบาทสำคัญมากขึ้นสำหรับการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค
 -  ความสามารถของแอปเปิลและกูเกิล ด้านการมอบประสบการณ์ด้านสื่ออย่างเต็มประสิทธิภาพให้แก่ผู้บริโภคเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งให้สองแบรนด์นี้กลายเป็นแบรนด์ระดับแนวหน้า

วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2554

เปลี่ยนทัศนคติพนักงานให้ "รัก" และ "ผูกพัน" องค์กร

*กลเม็ดสร้างความผูกพันระหว่างพนักงานกับองค์กร

*8 ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพล 5 พฤติกรรมที่แสดงออกของพนักงาน

*เผยผลงานวิจัยน่าตกใจ พนักงานไม่ผูกพันองค์กรมีมากกว่าครึ่ง

*ทำอย่างไรจึงเปลี่ยนทัศนคติจาก “ลบ” กลายเป็น “บวก”

“Employee Engagement” คือ ความผูกพันของพนักงาน ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ทางอารมณ์อย่างแรงกล้าของพนักงานที่มีความรู้สึกต่อองค์กรของตนและมีอิทธิพลต่อพนักงานนั้นในการใช้ความพยายามทุ่มเทในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ของตนด้วยดุลยพินิจไตร่ตรองอย่างจริงจังมากๆ” เป็นคำจำกัดความของ ชูเกียรติ ประทีปทอง ที่เขียนไว้ใน HR CLINIC

ทั้งนี้ มีผลงานวิจัยที่ชี้ให้เห็นถึงผลของการที่พนักงานมีความผูกพันต่อองค์กรว่าจะส่งให้เกิดผลดีเป็นประโยชน์ต่อองค์กรในหลายกรณี กล่าวคือ ทำให้เพิ่มผลผลิตมากขึ้น มีกำไรมากขึ้น ให้ความสำคัญมุ่งเน้นต่อลูกค้ามากขึ้นและอัตราการลาออกของพนักงานค่อนข้างน้อยลง รวมทั้งความผูกพันกับพนักงานภายในองค์กรถือเป็นการจูงใจให้พนักงานแต่ละคนปฏิบัติหน้าที่ดีมากกว่าปกติที่ควรจะเป็นและปฏิบัติเพื่อความสำเร็จและผลประโยชน์ต่อองค์กรมากยิ่งขึ้น

งานวิจัยบน Social Network

กระแสของสื่อและสังคมออนไลน์ หรือ Social Network ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายสิ่งหลายอย่างทั้งในชีวิตประจำวัน การทำงาน หรือความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ในเชิงวิชาการนั้นกระแสของ Facebook / Twitter ก็ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกัน


โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการทำวิจัยและการเก็บข้อมูลต่างๆ ครับ พบว่าในปัจจุบัน Facebook กลายเป็นทั้งแหล่งสำหรับนิสิต นักศึกษา ในระดับต่างๆ ในการเก็บข้อมูล ทำวิจัย มากขึ้น โดยพบเห็นผู้ที่กำลังเรียนหนังสือและต้องเก็บข้อมูลเพื่อทำวิจัย มีการโพสต์ลิงค์ หรือ การขอร้องให้บรรดาพรรคพวกเพื่อนฝูงได้เข้ามาทำแบบสอบถามต่างๆ ผ่านทาง Facebook มากยิ่งขึ้น ซึ่งก็ไม่แน่ใจเหมือนกันนะครับว่าในเชิงสถิติแล้วการเก็บข้อมูลผ่านทางเพื่อนบน Facebook นั้นมีความน่าเชื่อถือได้เพียงใด

นอกเหนือจากการเก็บข้อมูลผ่านทาง Facebook แล้ว งานวิจัยอีกประเภทที่เกี่ยวกับ Facebook ที่เริ่มพบเห็นกันมากขึ้นก็คือการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมในการใช้ Facebook และเชื่อมโยงกับเรื่องต่างๆ มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการใช้ Facebook ที่เชื่อมกับความภักดีในตราสินค้า หรือ เชื่อมกับความภาคภูมิใจในตนเอง ฯลฯ ดังนั้นสัปดาห์นี้เราลองมาดูผลวิจัยต่างๆ ที่เขาพยายามศึกษาเชื่อมโยงระหว่างพฤติกรรมในการใช้ Facebook กับเรื่องต่างๆ กันนะครับ

วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2554

ตะโกนให้โลกรู้ว่า คุณอยู่ไหน กับ foursquare.com

อยากตะโกนให้โลกให้รู้ ว่าคุณอยู่ไหน กับ foursquare.com นี่เป็น Social Network สายพันธุ์ใหม่ ที่น่าสนใจไม่น้อยครับ

FourSquare คืออะไร?

Foursquare คือ การผสมผสานกันของ Social Network และสถานที่ (Location) ซึ่งเมื่อทั้งสองอย่างมาร่วมกันเลยเกิดเป็น "Location-Based Social Network" เป็นบริการบนเว็บไซต์ + โทรศัพท์มือถือที่เปิดโอกาสให้คนที่เป็นสมาชิกสามารถบอกเพื่อนๆ ใน Network ของเขาว่า ตอนนี้เขาอยู่ไหน โดยเรียก"การแจ้งว่าเราอยู่ไหนผ่านโทรศัพท์มือถือ"ว่า การ "Check-in"

ทุกครั้งที่คุณ Check-in คุณก็จะได้ แต้ม (Point) เป็นรางวัลในแต่ละครั้ง โดยคุณสามารถแจ้งได้ทั้งในวันทำงาน และวันหยุด และยังสามารถเชื่อมต่อเข้ากับ Social Network ดังๆ ได้อีกด้วย เช่น facebook และ Twitter


FourSquare.com มาจากไหน?

Foursquare สร้างโดย Dennis Crowley ผู้ก่อตั้ง Dodgeball.com ซึ่งเป็น Mobile Social ในอเมริกา ที่ถูกซื้อโดย Google ไปในปี 2005 และ Dennis ลาออกจาก Google ในปี 2007 มาเปิดบริการคล้ายๆกับ Dodgeball โดยใช้ชื่อ FourSquare.com ในปี 2009

วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554

กุญแจปลดล็อกผู้บริโภค


สิ่งหนึ่งที่ไม่สามารถปฏิเสธได้คือ "เราทุกคนล้วนแล้วแต่เป็นผู้บริโภค" แนวคิดเรื่องผู้บริโภคอยู่ตรงศูนย์กลาง (Consumer-Centric)

เป็นหัวใจหลักในการทำธุรกิจหรือแคมเปญการตลาดในยุคที่อำนาจเปลี่ยนมาอยู่ในมือผู้บริโภค (Consumer Power) ปัจจุบันผู้บริโภคมีความปรารถนาไม่มีวันสิ้นสุดและเพิ่มมากขึ้น ทั้งความหลากหลายของชนิดสินค้าที่มีให้เลือกมากขึ้น และต้องดีกว่าเดิมปัจจุบันข้อมูลต่างๆ สามารถเข้าถึงและหาง่ายมากขึ้นไม่ว่าจะทางเว็บไซต์หรือการแนะนำแบบปากต่อปาก (Word of Mouth) ทำให้ผู้บริโภคมีความรู้และโอกาสในการเลือกมากขึ้นด้วย

ประโยชน์ที่ผู้อ่านจะได้รับจากคอลัมน์ Consumer Insider คือ การทำธุรกิจด้วยมุมมองของคนที่อยู่ภายใน (Insider) เพราะความเข้าใจผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมายจะช่วยให้นักการตลาดเข้าใจถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคสามารถหาทางแก้ไขพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคในสังคมได้ถูกต้อง รวมถึงพัฒนาผลิตภัณฑ์ดีขึ้นเป็นประโยชน์ในการเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดและทำให้คุณตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคให้ตรงกับชนิดของสินค้าที่ต้องการปรับปรุงกลยุทธ์การตลาดของธุรกิจ เพื่อความได้เปรียบคู่แข่งรวมถึงทำให้เราเองก็จะเป็นผู้บริโภคที่ฉลาดในการตัดสินใจมากขึ้นด้วย

'การตลาดอีเมล' เมื่อไร-แค่ไหนถึงจะดีที่สุด?



ถ้าคุณเป็นมือใหม่หัดใช้การตลาดอีเมล หรือได้เริ่มไปบ้างแล้ว คุณมักจะเจอคำถามใหญ่ 2 คำถามนี้เป็นประจำ คือ

เราควรจะส่งอีเมลถึงลูกค้าบ่อยแค่ไหน และควรจะส่งอีเมลเมื่อไรดี หากเราตัดสินใจผิดใน 2 ข้อนี้ คือ ส่งมากหรือน้อยเกินไป และส่งผิดวันและเวลา คุณก็จะเสียเวลากับการส่งเคมเปญการตลาดนั้นๆ ทันที บทความนี้จะบอกเทคนิคให้กับคุณ คุณอาจจะไม่ทราบมาก่อนก็ได้ หรืออาจจะคิดไม่ถึงว่ามันมีความสำคัญมากแค่ไหน

ควรจะส่งเมื่อไร?

เท่าที่ผมเคยศึกษาจากบทความและงานวิจัยต่างๆ รวมทั้งจากประสบการณ์ของผมเอง เกี่ยวกับวันและเวลาที่เหมาะสมในการส่งอีเมล เพื่อให้ได้ผลตอบรับที่ดีที่สุด ข่าวดีคือ ข้อมูลส่วนใหญ่ให้คำตอบที่ตรงกันครับ วันที่เหมาะสมในการส่งการตลาดอีเมล คือ...

วันอังคาร วันพุธ และวันพฤหัส

เหตุผลง่ายๆ ครับ คือ วันจันทร์เป็นวันที่เริ่มงาน ดังนั้น ผู้รับจะยุ่งกับงาน อีกทั้งเขาจะรับอีเมลเป็นจำนวนมากที่มาจากวันเสาร์และอาทิตย์ ดังนั้น อีเมลของคุณจะเป็นเพียงแค่หนึ่งในอีเมลจำนวนมาก ทำให้อีเมลของคุณไม่ได้รับความสนใจ วันศุกร์ก็ไม่ดีเช่นกัน เพราะเป็นวันที่ผู้รับอยู่ในบรรยากาศที่ไม่อยากทำงาน พร้อมที่จะออกจากงาน เพื่อเที่ยวในวันเสาร์และอาทิตย์ ส่วนวันเสาร์ ผู้รับก็จะไม่อยู่ที่ทำงานและอาจจะเดินทาง ดังนั้น โอกาสที่เช็คอีเมลก็มีได้ยาก

วันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2554

How to Use Twitter for Marketing & PR


Twitter is a tool for "micro-blogging" or posting very short updates, comments or thoughts. In fact, since Twitter was designed to be very compatible with mobile phones through text messages, each update is limited to 140 characters. Truly, a micro-blog. Another way to think of Twitter is like a cross between instant messaging (IM) and a chat room, because it is an open forum, but you restrict it to the people with which you connect.

I have to admit I have not always been sold on Twitter. At first I did not get it at all. Then I thought I understood it, but thought it was stupid and useless. Then I used it a bit more and got some more followers and followed a few more people. Now I think it has some value, especially as a marketing and PR tool.

Ideas for How to Use Twitter for Marketing & PR

1.Engage your CEO in social media. Social media is a great way to have a conversation with your market and make and mange connections with prospects, customers, bloggers and other influencers. But for a CEO, the typical routes to social media can be hard. Especially if you are a larger or global company. A CEO typically has little time to write a blog or answer lots of messages and friend requests on Facebook. I cannot tell you how many CEO blogs I have seen with only 1 or 2 posts because the CEO never had time to update the blog after the first couple entries. But, Twitter is limited to 140 characters per update, so it is all about short thoughts and comments. If your CEO can send a text message, they can use Twitter from anywhere in the world as a marketing and PR tool. Twitter is actually perfect for CEO or founder who is always on the road meeting with people and who has some interesting opinions on your market.

2.Keep in touch with bloggers / media. It is really easy to follow someone on Twitter (see below). And you'll be surprised how often they decide to follow you as well. In fact, I have lots of people I consider "famous" in the marketing and PR worlds following me. In my opinion, this is a way easier way to connect with influential people in the media than calling and emailing them.

10 วิธีเจ๋งๆ ทำตลาดผ่าน Twitter


Twitter (ผมเรียกมันเป็น ” internet SMS ” )ในยุคแรกๆ นั้น Tweeple(คนใช้ Twitter) ใช้มันเป็นเหมือนเครื่องมือจดบันทึกเหตุการณ์ ณ ขณะนั้น แต่ปัจจุบัน Twitter ถูกใช้ไปเพื่อสนองว้ตถุประสงค์มากมาย ทั้งการพูดคุย การส่งข่าว ทางการเมือง ฯลฯ แต่แน่ล่ะ นักการตลาดทั้งหลายก็ไม่ควรพลาดโอกาสในการใช้ twitter เพื่อผลทางการตลาดของตนเอง แล้วเสียงนกจิ๊บจั๊บบนโลกออนไลน์มันช่วยทำการตลาดบนออนไลน์อย่างไรบ้าง

หากคุณอยากป่าวร้องบอกสาวกของคุณว่า คุณมีเรื่องราว บทความใหม่ๆ ในเว็บหรือบล็อกของคุณที่คิดว่าที่เป็นประโยชกับสาวกเพื่อเพิ่มจำนวนคนเข้า เว็บหรือบล็อกของคุณ เพียงแต่ใส่ทวิตให้น่าสนใจ ใส่ link ลงไปใน twitter ของคุณ
  1. ไปเป็นสาวกกับ Tweeple คนอื่นๆบ้าง แต่เลือกที่จะช่วยคุณหา idea ใหม่ๆ หรือ strategy ในการทำการตลาดใหม่ๆ เช่นพวก Blog หรือ website ที่เกี่ยวข้องกับการงานของคุณ เท่านี้ คุณจะได้ idea เด็ดๆมาช่วยในการทำการตลาดของคุณแล้ว
  2. หาลูกค้าใหม่จาก twitter เพียงคุณเข้าไปที่ search.twitter.com แล้ว ใส่ keyword ที่เกี่ยวข้องกับ สินค้าหรือบริการของคุณ twitter ก็จะแสดงผลค้นหา tweeple ที่สนใจหรือพูดเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการของคุณ เช่นหากคุณขาย กระเบื้อง ก็คีย์คำว่า กระเบื้อง ลงไป มันก็จะแสดงผลของ twit ที่พูดถึงกระเบื้อง แต่บาง twit อาจมี URL อยู่ใน Twit นั้น คุณก็ใส่เครื่องหมาย ลบและตามด้วย http เช่น -http กระเบื้อง ผลค้นหาก็จะแสดง twit ที่พูดถึง กระเบื้อง ที่ไม่มีการใส่ URL มาให้เราดู แล้วคุณก็เลือก Tweeple ที่น่าจะสนใจซื้อกระเบื้องของเรา และก็ทำการ reply หรือ DM กลับไปซะ ก็ได้คนที่น่าจะเป็นลูกค้าในอนาคตแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ต้องกรองจนแน่ใจว่า เค้าเป็นคนที่น่าจะใช่ ไม่งั้น การ RT หรือ DM อาจกลายเป็น Spam ไปก็ได้ครับ