วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2554

การเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค

จากการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค และนวัตกรรมของโทรศัพท์มือถือที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีผลโดยตรงกับการทำตลาดของทั้งตัวโทรศัพท์มือถือเอง และสินค้าต่างๆ ที่ต้องใช้มือถือ เป็นเครื่องมือหนึ่งในการทำตลาด และการเข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก
 ล่าสุด ทีเอ็นเอส ได้เปิดตัว ทีเอ็นเอส โมบายไลฟ์ 2011 ซึ่งเป็นงานศึกษาทั่วโลกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดด้านการใช้โทรศัพท์มือถือของผู้บริโภค ทีเอ็นเอส โมบายไลฟ์ 2011 เป็นผลจากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างกว่า 34,000 ตัวอย่างใน 43 ประเทศและใช้เวลากว่า 25,000 ชั่วโมงและเข้าสู่ปีที่ 6 ของการศึกษานี้ จึงเอื้อให้สามารถเข้าใจประสบการณ์ของผู้บริโภคที่มีต่อความคล่องตัวอันเกิดจากการใช้โทรศัพท์มือถือ รวมทั้งได้ทราบถึงแง่มุมเชิงลึกเกี่ยวกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงการใช้โทรศัพท์มือถือในวันข้างหน้า

 ผลวิจัยทีเอ็นเอสเผยข้อด้อย ของการตกกระแสความเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบนมือถือ พบว่า
 -  กลุ่มผู้บริโภคที่พอใจได้ยาก ยังคงเป็นแรงผลักดันให้ตลาดมือถือที่มีเทคโนโลยีล้ำหน้ามีการเติบโต โดยสิ่งสำคัญคือการพัฒนาฟังก์ชันต่างๆ เกี่ยวกับวิดีโอทั้งการโทรศัพท์แบบเห็นหน้า การดูคลิปวิดีโอทางอินเตอร์เน็ตผ่านมือถือโดยไม่ได้โหลดมาเก็บไว้ดูภายหลัง และการดาวน์โหลดวิดีโอ
 -  ยี่ห้อโทรศัพท์มือถือยังคงมีความสำคัญแต่ก็กำลังเปิดทางให้แบรนด์ด้านคอนเทนต์ อีกทั้งการร่วมมือกันระหว่างแบรนต่างๆก็เริ่มมีบทบาทสำคัญมากขึ้นสำหรับการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค
 -  ความสามารถของแอปเปิลและกูเกิล ด้านการมอบประสบการณ์ด้านสื่ออย่างเต็มประสิทธิภาพให้แก่ผู้บริโภคเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งให้สองแบรนด์นี้กลายเป็นแบรนด์ระดับแนวหน้า

วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2554

เปลี่ยนทัศนคติพนักงานให้ "รัก" และ "ผูกพัน" องค์กร

*กลเม็ดสร้างความผูกพันระหว่างพนักงานกับองค์กร

*8 ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพล 5 พฤติกรรมที่แสดงออกของพนักงาน

*เผยผลงานวิจัยน่าตกใจ พนักงานไม่ผูกพันองค์กรมีมากกว่าครึ่ง

*ทำอย่างไรจึงเปลี่ยนทัศนคติจาก “ลบ” กลายเป็น “บวก”

“Employee Engagement” คือ ความผูกพันของพนักงาน ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ทางอารมณ์อย่างแรงกล้าของพนักงานที่มีความรู้สึกต่อองค์กรของตนและมีอิทธิพลต่อพนักงานนั้นในการใช้ความพยายามทุ่มเทในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ของตนด้วยดุลยพินิจไตร่ตรองอย่างจริงจังมากๆ” เป็นคำจำกัดความของ ชูเกียรติ ประทีปทอง ที่เขียนไว้ใน HR CLINIC

ทั้งนี้ มีผลงานวิจัยที่ชี้ให้เห็นถึงผลของการที่พนักงานมีความผูกพันต่อองค์กรว่าจะส่งให้เกิดผลดีเป็นประโยชน์ต่อองค์กรในหลายกรณี กล่าวคือ ทำให้เพิ่มผลผลิตมากขึ้น มีกำไรมากขึ้น ให้ความสำคัญมุ่งเน้นต่อลูกค้ามากขึ้นและอัตราการลาออกของพนักงานค่อนข้างน้อยลง รวมทั้งความผูกพันกับพนักงานภายในองค์กรถือเป็นการจูงใจให้พนักงานแต่ละคนปฏิบัติหน้าที่ดีมากกว่าปกติที่ควรจะเป็นและปฏิบัติเพื่อความสำเร็จและผลประโยชน์ต่อองค์กรมากยิ่งขึ้น

งานวิจัยบน Social Network

กระแสของสื่อและสังคมออนไลน์ หรือ Social Network ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายสิ่งหลายอย่างทั้งในชีวิตประจำวัน การทำงาน หรือความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ในเชิงวิชาการนั้นกระแสของ Facebook / Twitter ก็ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกัน


โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการทำวิจัยและการเก็บข้อมูลต่างๆ ครับ พบว่าในปัจจุบัน Facebook กลายเป็นทั้งแหล่งสำหรับนิสิต นักศึกษา ในระดับต่างๆ ในการเก็บข้อมูล ทำวิจัย มากขึ้น โดยพบเห็นผู้ที่กำลังเรียนหนังสือและต้องเก็บข้อมูลเพื่อทำวิจัย มีการโพสต์ลิงค์ หรือ การขอร้องให้บรรดาพรรคพวกเพื่อนฝูงได้เข้ามาทำแบบสอบถามต่างๆ ผ่านทาง Facebook มากยิ่งขึ้น ซึ่งก็ไม่แน่ใจเหมือนกันนะครับว่าในเชิงสถิติแล้วการเก็บข้อมูลผ่านทางเพื่อนบน Facebook นั้นมีความน่าเชื่อถือได้เพียงใด

นอกเหนือจากการเก็บข้อมูลผ่านทาง Facebook แล้ว งานวิจัยอีกประเภทที่เกี่ยวกับ Facebook ที่เริ่มพบเห็นกันมากขึ้นก็คือการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมในการใช้ Facebook และเชื่อมโยงกับเรื่องต่างๆ มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการใช้ Facebook ที่เชื่อมกับความภักดีในตราสินค้า หรือ เชื่อมกับความภาคภูมิใจในตนเอง ฯลฯ ดังนั้นสัปดาห์นี้เราลองมาดูผลวิจัยต่างๆ ที่เขาพยายามศึกษาเชื่อมโยงระหว่างพฤติกรรมในการใช้ Facebook กับเรื่องต่างๆ กันนะครับ