วันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2556

ขีปนาวุธ SMEs ยุค 3G จัดการธุรกิจ ผ่าน App โดนๆ



เกิดเป็นเอสเอ็มอีในยุค 3G ต้องไม่ตกยุค ลองใช้ Mobile Application จัดการงานหลังบ้านและหน้าบ้าน ในเสี้ยววินาทีที่ปลายนิ้ว...คลิก!!

แอพพลิเคชั่นโดนๆ ที่ปรากฏตัวในงานเปิดม่าน “ECIT Mobile Application for SMEs” เข้าทางและโดนใจ ผู้ประกอบการไทยยุค 3G เอามากๆ
ในยุคที่เทคโนโลยีวิ่งแซงหน้าทุกอย่าง และก้าวไกลกว่าที่ใครๆ คิด ชนิดที่เอสเอ็มอีจะปฏิเสธ และทำมึนต่อไปอีกไม่ได้ เพราะนี่ไม่ใช่แค่การสร้างโอกาสธุรกิจ ทว่ายังรวมระบบปฏิบัติการที่จะเป็นลูกมือช่วยผู้ประกอบการพันธุ์เล็ก ให้สามารถทำงานได้ง่ายขึ้น ประหยัดเวลา ลดต้นทุน ทั้งยังเพิ่มยอดขาย
ที่สำคัญไม่ต้องลงทุนกับเงินมหาศาล เพราะบริการที่ว่านี้ มีค่าใช้จ่ายเท่ากับ “ศูนย์”

ECIT Mobile Application for SMEs” คือโครงการต่อเนื่องของ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ที่สานต่อจากโครงการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันอุตสาหกรรมไทยด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ECIT (อีซี่ไอที) การใช้ระบบไอทีผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาช่วยเหลืออุตสาหกรรม ที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2552 จนต่อยอดสู่ 11 แอพลิเคชั่นสำหรับเอสเอ็มอีในวันนี้

“ปัญหาสต๊อกบวมเป็นเรื่องปกติของเอสเอ็มอี ถ้าเขาไม่มีระบบการจัดการมาบริหารคลังสินค้า ก็จะไม่รู้เลยว่าตอนนี้ สต๊อกวัตถุดิบและสินค้ามีเท่าไร ต้องสั่งเพิ่มเท่าไร ฝ่ายจัดซื้อก็จะสั่งของเกินมาก่อน ซึ่งก็กลายเป็นต้นทุน แต่ระบบของเราจะคำนวณให้เสร็จในขั้นตอนเดียว และจะรายงานทุกอย่างแบบพอดีเป๊ะ! เพราะฉะนั้นคอนเซ็ปต์ก็คือ สต๊อก เท่ากับ 0”

อภิรักษ์ เชียงเจริญ Business Development Director จากบริษัท ดับเบิล เอ็ม เทคโนโลยี แมเนจเม้นท์ จำกัด แนะนำแอพพลิชั่น Double M Sales 2 Go โปรแกรมที่ช่วยตรวจสอบสินค้าคงคลัง และบันทึกคำสั่งซื้อขายผ่านระบบ 3G หรือ wifi ได้แบบทุกที่ ทุกเวลา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจ เหมาะกับกิจการทั้งเล็กและใหญ่ จะซื้อมาขายไป หรือ การผลิต ระบบก็พร้อมรองรับ

วันจันทร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2556

เบื้องหลัง “ทฤษฎีการตลาดก้องโลก” ของ ‘ฟิลิป คอตเลอร์’

“ฟิลิป คอตเลอร์”ระเบิดความคิด ธุรกิจไม่เพียงขายของ เรียกร้องแต่กำไรเยอะๆ แต่ต้องมีส่วนสร้างโลกให้น่าอยู่ ดูเป็นเรื่องอุดมคติแต่เกิดขึ้นจริง



ฟิลิป คอตเลอร์ ศาสตราจารย์กิตติคุณด้านการตลาดระหว่างประเทศ ประจำคณะบริหารธุรกิจ The Kellogg School of Management มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสต์เทิร์น สหรัฐอเมริกา เขาคือนักเศรษฐศาสตร์ผู้ผันตัวเองไปเป็นนักคิด นักวางแผนการตลาด ถูกยกย่องให้เป็นกูรูการตลาดผู้วางชั้นเชิงกลยุทธ์ขับเคลื่อนธุรกิจได้อยู่หมัด จากการผู้อ่านโลกและเทรนด์การตลาดยุคหน้าที่ใช่
กูรูผู้นี้ยังอยู่เบื้องหลัง เป็นที่ปรึกษาในการวางแผนกลยุทธ์การตลาดองค์รวม ตลอดจนการตลาดระหว่างประเทศ ให้กับคอร์เปอเรทชั้นนำ อาทิ IBM, General Electric (GE), AT&T, Honeywell, Bank of

America, Merck รวมไปถึงให้คำปรึกษาไปยังรัฐบาลเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะและตำแหน่งบุคลากร รวมถึงทรัพยากร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถแข่งขัน

สาวกทางการตลาดทั้งอาจารย์และคนมีชื่อเสียง รวมถึงนักการเมืองในไทยหลายรายต่างเคยเป็นลูกศิษย์ลูกหาของท่านปรมาจารย์คอตเลอร์ อาทิ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการ Sasin Institute for Global Affairs (SIGA) ทั้งสองท่านเป็นคีย์แมนผู้เคยวางยุทธศาสตร์ประเทศ (ไทยแลนด์ อิมเมจ) เมื่อครั้งร่วมงานกับรัฐบาล

คอตเลอร์ เขียนหนังสือมาแล้วกว่า 50 เล่ม ได้รับการตีพิมพ์ผลงานลงในวารสารและสิ่งพิมพ์ชั้นนำกว่า 150 บทความ ตลอดจนเป็นเจ้าของตำรา Marketing Management ที่เหล่านักศึกษาด้านการตลาดตั้งแต่ปี พ.ศ.2510 (ค.ศ.1967) จนปัจจุบันถูกนำมาพัฒนาปรับปรุงใหม่แล้วกว่า 14 Editions

คอตเลอร์ ผู้เฒ่าวัย 82 ผู้มีบุคลิกสวนทางกับอายุ เต็มเปี่ยมไปด้วยพลัง มีความกระฉับกระเฉงในการสอน แม้เขาต้องบินไกลเพื่อมาสอนในหัวข้อ ”Values Driven Marketing” ที่จัดโดย นสพ.กรุงเทพธุรกิจ แต่กลับยังคงฉายภาพการเปลี่ยนผ่านยุครอยต่อของการตลาดได้อย่างคึกคัก มุ่งมั่น อัดแน่นด้วยองค์ความรู้
เขาบอกว่าที่ทำแบบนี้ได้เพราะเขาเต็มไปด้วย passion ที่ใช้เป็นแรงขับเคลื่อนชีวิตและจิตใจ อายุจึงไม่ได้เป็นอุปสรรค ลึกๆ ปรมาจารย์การตลาดผู้นี้หวังจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะใช้ความรู้ที่สั่งสมมาเพื่อออกแบบการตลาดเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีน่าอยู่ กระจายรายได้อย่างเท่าเทียม

สื่อดิจิตอลร้อนแรงจัด นักการตลาดตอมฉุดแพลตฟอรืมใหม่เกิด


"ดิจิตอล มีเดีย"เนื้อหอมสุดๆ เอเยนซีโหมทุ่มงบลุยตลาดจริงจัง "กรุ๊ปเอ็ม" เผย 4 เทรนด์ใหม่นักการตลาดรุมเล่น จับตาคลิปวิดีโอยังมาแรง ด้าน "ธอมัสไอเดีย" คาดตลาดหนังสือ นิตยสารลดลงหนีสื่อรูปเล่มเข้าสู่แพลตฟอร์มใหม่

ล่าสุดจับมือเอ็กซ์เอ็มเอเชียชูจุดแข็งสู่เครือข่ายดิจิตอลเอเยนซีแห่งเอเชีย ขณะที่สื่อโฆษณาดิจิตอลในประเทศไทยปีนี้จะขยายตัวสูงเพิ่มขึ้นเป็น 5% จากมูลค่าสื่อทั้งหมด 1.2 แสนล้าน
การเติบโตอย่างร้อนแรงของสื่อดิจิตอลในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ยังไม่มีทีท่าว่าจะซาลงง่ายๆ ในทางตรงข้าม กลับมีบทบาทและถูกจับตามองว่าจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวงการสื่อเมืองไทย โดยเฉพาะการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี เส้นทางของสื่อดิจิตอล จะกลายเป็นผู้นำด้วยแพลตฟอร์มใหม่ๆ ซึ่งผู้ประกอบการไทยเองไม่ว่าจะในแวดวงใดก็ต้องเรียนรู้ที่จะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

   โดยเรื่องดังกล่าวนายศิวัตร เชาวรียวงษ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอ็มอินเตอร์แอ็คชั่น จำกัด เปิดเผยว่า ปีนี้บริษัทมองว่าสื่อดิจิตอลจะขยายตัวมากขึ้นจากปีที่ผ่านมา อีกทั้งยังมีแนวโน้มที่จะถูกนำไปใช้ผ่าน 4 รูปแบบ ประกอบไปด้วย

1. Integrated การวิเคราะห์พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคแต่ละกลุ่มเป้าหมาย โดยสำรวจจากลูกค้าที่เสิร์ชหาข้อมูลผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด ว่ามาจากเว็บใดและซื้อที่ไหน

2. DSPs (Demand Side Platforms) นักการตลาดจะเลือกซื้อสื่อออนไลน์เฉพาะกลุ่ม เนื่องจากผู้บริโภคในปัจจุบันฉลาดมากขึ้นอีกทั้งยังช็อปปิ้งผ่านทางออนไลน์มากกว่าเดิม ดังนั้นนักการตลาดจำเป็นจะต้องใช้เงินของลูกค้าให้เกิดประโยชน์สูงสุด