กลยุทธ์ผู้ตามอย่างเหนือชั้น Market-Follower
Strategies
กรณีบิ๊กโคล่า แบรนด์ที่ปลุกกระแสที่สร้างความฮือฮาให้กับวงการน้ำอัดลมด้วยการเบียดแย่งส่วนแบ่งการตลาดมาจาก 2 ค่ายใหญ่
ถ้ามองในเชิงกลยุทธ์ทางการตลาด ถือว่าบิ๊กโคล่าสามารถเลือกกลยุทธ์ได้ดี หรือถ้ามองบิ๊กโคล่าเป็น Follower ก็ถือว่าใช้ Market-Follower Strategies ตัวจริงเลยก็ว่าได้ โดยออกผลิตภัณฑ์เลียนแบบหรือ Me-too product
ผู้เขียนได้เคยบอกกับผู้เรียนหรือผู้ที่ฟังบรรยายว่า“การวางแผนกลยุทธ์ หรือ Strategic Planning นั้นไม่จำเป็นต้องทำทุกกลยุทธ์ แต่เลือกกลยุทธ์ที่สำคัญมาทำ และทำในกลยุทธ์ที่ตนเองถนัด หรือเรียกว่า “Strategic Choice หรือ Choosing a General Attack Strategy” จึงเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่ทำให้บิ๊กโคล่าสามารถเข้ามาทำตลาดน้ำอัดลมได้ในขณะนี้ ซึ่งตลาดน้ำสีก็มีแนวโน้มจะไปได้ดีพอสมควร”
หากจะมองบิ๊กโคล่าต้องบอกเลยว่าบิ๊กโคล่าใช้กลยุทธ์ผู้ตามได้ค่อนข้างดีเลย ในทางกลยุทธ์ทางการตลาดเรียกว่า “Market-Follower Strategies”
ซึ่ง
บิ๊กโคล่า ไม่ใช่ Challenger ที่จะเข้ามาท้าชิงกับเป๊ปซี่หรือโค๊ก
ในกลยุทธ์ทางการตลาด การแข่งขันจะแบ่งได้ คือ Market Leader (ผู้นำ) Market Challenger (ผู้ท้าชิง) Market Follower (ผู้ตาม) และ Market Nicher (ธุรกิจรายย่อย)
บิ๊กโคล่าใช้กลยุทธ์ผู้ตามได้ค่อนข้างสมบูรณ์แบบ
ผู้บริโภคมักมองว่า บิ๊กโคล่าเหมือนนักปลอมแปลง Cloner หรือ Counterfeiter คือการทำตราสินค้าหรือรูปแบบ
ใครทำอะไรทำตาม
บิ๊กโคล่าไม่ใช่ Cloner ซะทีเดียว แต่เป็นลักษณะ Imitator คือการลอกเลียนแบบจากผู้นำ แต่การสร้างความแตกต่างในด้านราคา (Differentiate
Price) ช่องทางจัดจำหน่าย และโฆษณาที่ต่างออกไป
การเป็นผู้ตามนั้นไม่จำเป็นต้องถอดแบบมาหมดทุกอย่าง
แต่เมื่อเป็น Follower หรือผู้ตามแล้วต้องนำเอาส่วนที่ผู้นำ
(Leader) และผู้ท้าชิง (Challenger) ที่เป็นจุดอ่อนมาเลือกโจมตี
เนื่องจากการเข้าโจมตีจุดแข็งผู้นำนั้นค่อนข้างลำบาก ต้อง Differentiate จริงๆ
การเป็นผู้เลียนแบบ (Imitator) ของบิ๊กโคล่า ไม่ใช่การลอกเลียนแบบอย่างเดียว แต่ใช้ความต่างที่ราคาต่ำกว่าและให้ปริมาณมากกว่าถือเป็น Key Success Factor ก็ว่าได้
แม้ช่องทางการจัดจำหน่ายอาจสู้โค๊ก-เป๊ปซี่ไม่ได้ แต่อย่ าลืมช่องทางอื่นๆ ที่บิ๊กโคล่าใช้ ไม่จำเป็นต้อง 7-11 เสมอไป การซื้อน้ำมันเครื่องแถมบิ๊กโคล่าก็ยังมีให้เห็น หรือร้านโชห่วยทั่วไปก็ยังเป็นอีก Channel ก็ได้ เพราะร้านค้าทั่วไปในต่างจังหวัดหรือในตรอก ซอกซอย ยังมีกลุ่มที่ชอบลองของใหม่ราคาถูกอยู่ หรือเรียกว่ากลุ่ม “Innovators” คือกลุ่มผู้บุกเบิกที่กล้าลอง กล้าคิด กล้าเสี่ยง และยอมรับความเสี่ยง
กลุ่มนี้สัดส่วนอาจจะไม่มากแต่ใช้ดีแล้วบอกต่อเป็น WOM หรือ Word of Mount
จุดเปลี่ยนของบิ๊กโคล่า หากมองดูอาจเป็นแนวทางที่กลุ่มเครื่องดื่มกำลังจับตาดู เพื่อมาแย่งสัดส่วนตรงนี้อย่างแน่นอน เพราะยักษ์ใหญ่อย่างบริษัทสิงห์คอร์เปอเรชั่น จำกัด อาจกำลังมองดูอยู่เหมือนกัน เพราะมีความพร้อมอยู่แล้ว กลยุทธ์ที่ใช้อาจจะไม่แตกต่างกันมากนัก บริษัทสิงห์คอร์เปอเรชั่น จำกัด นั้นมีความพร้อมในด้านของการจัดจำหน่าย ซึ่งมีตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ ซึ่งถ้าหากเข้ามาทำธุรกิจน้ำอัดลมจริงๆก็ทำได้ง่ายเลย
ดังนั้นศึกนี้คงใหญ่หลวงนักสำหรับโค๊ก-เป๊ปซี่ คงต้องกลับมา SWOT Analysis ตัวเองบ่อยๆ ต้องมาติดตามกันต่อไปว่า Follower, Challenger, Leader เกมกลยุทธ์ Marketing Tactics ในธุรกิจนี้ ใครทำแล้วโดนใจผู้บริโภคมากกว่ากัน
กลยุทธ์ช่วงชิงจังหวะ (Market Challenger)
กรณีบิ๊กซีกับโลตัส การแข่งขันที่ช่วงชิงจังหวะในการตอบโต้
หากมองแล้ว กลยุทธ์แบบนี้ต่างคนต้องงัดกลยุทธ์ที่ใช้ทั้ง Defense Strategies และ Offensive Strategy เข้ามาต่อสู้กัน เพื่อรอจังหวะที่จะตอบโต้และป้องกันจนขาดคำว่า “จริยธรรมทางธุรกิจ”ไป
ส่วนถามว่าเป็นการผิดจริยธรรมทางธุรกิจหรือผิดมารยาทหรือไม่
ถ้ามองในมุมมองของ Consumer คงจะได้ประโยชน์เต็มๆ และรอว่าใครให้ Benefit
มากกว่ากัน
การผิดจริยธรรมกับผู้บริโภคคือ การที่ผู้บริโภคได้รับความเสียหาย เสียผลประโยชน์ แต่กลับกัน Consumer ได้รับประโยชน์ และสนุกกับเกมการต่อสู้ในครั้งนี้ เดินเข้าไปในบิ๊กซีกับโลตัส ไม่แตกต่างกับการเดินเข้า 7-11 เลย เพราะPromotion มากมาย
หากมองในมุมของการตลาด
ถือได้ว่าเป็น “Colorful Marketing” สีสันทางการตลาด
แต่ก็ควรจะมีจริยธรรมในการแข่งขันด้วย ถึงแม้จะไม่ผิดจริยธรรมกับผู้บริโภค
แต่ในจริยธรรมธุรกิจการแข่งขันไม่เหมาะแน่นอน
การใช้ SMS แจ้งให้ลูกค้าคู่แข่งตอบกลับหรือแจกแผ่นพับใกล้เคียงคู่แข่งขันในธุรกิจเดียวกัน จะคล้ายกลยุทธ์กองโจร หรือ Guerrilla Attack คือการลักลอบโจมตีคู่แข่งแบบผิดจรรยาบรรณ
ซึ่งกลยุทธ์แบบกองโจร (Guerrilla Attack) ในทฤษฎีการตลาดมีหลายวิธี เช่น การให้ข่าวลือ แย่งผู้บริหาร ปลอมแปลง เป็นต้น ซึ่งในสังคมไทยอาจจะยังรับไม่ได้
แต่เนื่องจากการแข่งขันในธุรกิจ Consumer Product นั้น ประชาชนได้ประโยชน์ จึงไม่ได้ออกมาต่อต้านเท่าไหร่นัก เนื่องจากสังคมไทยยังมีระดับรากหญ้าที่รอของแถม ของลดราคาอยู่ แต่ถ้าเมื่อไหร่บริโภคแล้วมีผลกระทบนั่นแหละ แน่นอน การเรียกร้องสิทธิของประชาชนจะเกิดขึ้น หรือ Human Right เมื่อถึงตอนนั้นสังคมจะฟ้องร้องเอง หรือเรียกว่า “Social Sanction”
ในต่างประเทศเราคงได้ยินข่าวที่ Google ออกมายอมรับและขอโทษที่ทางบริษัทได้นำข้อมูลส่วนหนึ่งจาก Sohu.com มาใช้พัฒนาโปรแกรมของตนเองโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ Google ก็ออกมายอมรับขอโทษ แต่ในการส่ง SMS ไปยังลูกค้าคู่แข่ง ส่วนกรณี ของโลตัสที่การใช้ SMS แจ้งให้ลูกค้าคู่แข่งตอบกลับ ยังไม่มีกฎหมายมากำหนดว่าผิดหรือไม่ คงผิดแค่มารยาทธุรกิจ
ลองหันมามองในเรื่องของพฤติกรรมผู้บริโภคนั้นจะแบ่งเป็นกลุ่ม Discount Store, Supermarket, Convenience Store และ Department Store โดยผู้บริโภคนั้นจะมีความต้องการในการเลือกซื้อสินค้าแตกต่างกันไปตาม Need ต่างๆ
พฤติกรรมผู้ซื้อนั้น จะแบ่งไปตาม Need ต่างๆ Stated Need (ความต้องการขั้นพื้นฐาน), Real Need ความต้องการอยากจะซื้อ, Unstated Need ซื้อโดยไม่คาดคิด และ Delight Need ความต้องการแท้จริง อาจเป็นสูตรเดียวกันที่ Discount Store ใช้ทำกัน
เมื่อกลยุทธ์ต่างๆ
ที่ทั้งบิ๊กซีกับโลตัสที่ใช้ในการทำตลาด เริ่มตัน ดังนั้น
การสร้างและรักษาลูกค้าจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่งขึ้น
ดังนั้นทั้งบิ๊กซีและโลตัสจึงจะมองกลยุทธ์ด้วยกันและกัน คือ ใคร ออก Campaign
อะไรมาจะทำตาม รอจังหวะซึ่งกันและกัน เพื่อปกป้องฐานลูกค้าให้ดีที่สุด
ซึ่งเป็นผลให้ผู้บริโภคเริ่มจะศึกษาสินค้ามากขึ้น หรือ High-Involvement จากเดิมที่ตัดสินใจง่ายๆ ซื้อแบบ Routine หรือ Low-Involvement กลับต้องพิจารณามากขึ้น เพราะการออก Campaign ลด แลก แจก แถม ก็ยังเป็นกิจกรรมดึงผู้บริโภคให้ซื้อ ยังเป็นสมัยนิยมเสมอ
แต่สุดท้าย จะซื้อด้วยแบบใดก็ตาม ผู้บริโภคคงจะต้องมองที่ Benefit ที่ได้รับเป็นสำคัญ เพราะพฤติกรรมผู้ซื้อจะซื้อครั้งมากๆ ช่วงปลายเดือน ในระหว่างเดือน ถ้าต้องการจำเป็นจริงๆ ซื้อไม่มาก ก็คงไม่พ้น Convenience Store ที่เปิดใกล้บ้าน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น