วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

QR Code ทำได้ “ห้องสมุดเสมือนที่ป้ายรถเมล์”

เมืองหนึ่งในประเทศออสเตรียนั้นบรรจุห้องสมุดเสมือนไว้ในสติกเกอร์พิมพ์ลาย QR code สำหรับนำไปติดไว้ตามสถานที่สาธารณะ ซึ่งเมื่อประชาชนพบเห็น ก็จะสามารถดาวน์โหลดหนังสืออิเล็กทรอนิกส์หรือ e-book ไปอ่านได้บนอุปกรณ์ของตัวเอง


โครงการนี้ใช้ชื่อว่า Projekt Ingeborg ขณะนี้มีการพิมพ์สติกเกอร์ 70 ชิ้นซึ่งประกอบด้วยเทคโนโลยี QR code และ NFC โดยจะนำไปติดไว้ในพื้นที่สาธารณะที่มีประชาชนจำนวนมากผ่านไปมา ทั้งหมดนี้เริ่มดำเนินการแล้วในเมือง Klagenfurt ของออสเตรียช่วงต้นปีที่ผ่านมา ท่ามกลางความเห็นจากประชาชนที่รู้สึกว่าห้องสมุดเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ง่ายขึ้น


เมือง Klagenfurt เป็นเมืองที่ไม่มีห้องสมุดสาธารณะ โครงการนี้จึงเกิดขึ้นบนความร่วมมือกับหน่วยงานขนส่งมวลชนในเมืองเพื่อติดสติกเกอร์ QR code สีเหลืองสดที่มองเห็นได้ง่าย โดยทั้งหมดจะเป็นช่องทางให้ผู้ใช้ได้อ่านหนังสือที่ต่างกัน 70 เรื่อง คาดว่าจะมีการขยายกลุ่มไปยังนักเขียนรุ่นเยาว์เพื่อขยายกลุ่มผู้อ่าน

ก่อนหน้านี้ ประเทศสเปนก็เคยรณรงค์ให้ประชาชนรักการอ่านในโครงการ National Reading Plan ด้วยการใส่ลิงก์เนื้อหาบทแรกของหนังสือลงใน QR code ซึ่งถูกติดไว้ที่รถไฟสาธารณะ ตอกย้ำว่านี่เป็นเทรนด์แรงที่ผู้อยู่ในอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ไม่ควรมองข้าม


บทความจาก marketingoops
http://bit.ly/OBmmoR

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

"โนเกีย" เมื่อผู้นำเป็นผู้ตาม แค่เพลี่ยงพล้ำ แต่(ยัง)ไม่แพ้ ?



สำหรับผู้นำตลาดที่ยืนยงคงกระพันมานานนับสิบปี อย่าง "โนเกีย" คงยากทำใจเหมือนกันที่มาวันนี้ต้องอยู่ในสถานะผู้ตามในสมรภูมิ "สมาร์ทโฟน" ซึ่งเป็นอนาคตของธุรกิจนี้


ในภาพรวม "โนเกีย" อาจยังรักษาสถานะผู้นำอันดับหนึ่งเอาไว้ได้ แต่ถ้าโฟกัสเฉพาะ "สมาร์ทโฟน" ในตลาดโลก ณ ไตรมาสที่ 2 ปีนี้ เสียแชมป์ให้ "ซัมซุง" ไปแล้วร้อย ในเมืองไทยก็ไม่แตกต่างกันนัก

"ตลาด ที่เริ่มเทไปยังสมาร์ทโฟนมากขึ้น โดยเฉพาะในรุ่นไฮเอนด์ ซึ่งเราไม่สามารถลงไปได้เพราะไม่มีภาษาไทยให้ใช้ แต่ถ้ามองเครื่องระดับเริ่มต้นถึงกลาง เรายังไปได้ รวมถึงฟีเจอร์โฟนยังคงเป็นจุดแข็งที่ทำให้โนเกียยังคงมีมาร์เก็ตแชร์เป็น เบอร์ 1 ในแง่จำนวน" แกรนท์ แมคบีธ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โนเกีย (ประเทศไทย) จำกัด ยอมรับ

กลางสมรภูมิการแข่งขันที่ดูเหมือนว่า "ผู้นำ" จะตกเป็นรอง หนักแค่ไหนไม่รู้ แต่ร้านขายเครื่องมือสองบางแห่งถึงขั้นไม่ยอมรับซื้อสมาร์ทโฟนมือสองของโน เกีย

ความภักดีในแบรนด์ "โนเกีย" ที่เชื่อว่ายังอยู่ จะช่วยให้ "โนเกีย" ยืนระยะในฐานะผู้นำตลาด (ในแง่จำนวนเครื่อง) ได้อีกนานแค่ไหน

"ประชาชาติธุรกิจ" มีโอกาสพูดคุยกับกรรมการผู้จัดการ โนเกีย ประเทศไทย ดังนี้

โลกยุค 3.0 ปลุกกระแส Faith Marketing



โลกเปลี่ยนเร็ว แข่งขันสูง ทุกข์มาก ต้องการที่พึ่ง ส่งให้ "การตลาดความศรัทธา"เกิดขึ้นหลากอีเวนท์ สนองจริตของผู้คน นี่คือปรากฎการณ์ วันนี้

พุทธชยันตี 2,600 ปีแห่งการตรัสรู้ พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นผ่านกาลเวลานับพันปี ในหลากหลายนิกายและลัทธิความเชื่อของผู้ถ่ายทอด บนเป้าหมายเดียวกันคือ การมุ่งหาหนทางแห่งการดับทุกข์


ทว่าภายใต้บริบทของโลก (สังคม เศรษฐกิจ ธุรกิจ ภัยธรรมชาติ ฯลฯ) ที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ในโลกยุค 3.0 การหา "ที่ยืน" ในสังคมเป็นเรื่องยากกว่าเดิม จากการแข่งขัน (แก่งแย่ง) ที่มีมากขึ้น ภายใต้ทรัพยากรที่มีจำกัด   สิ่งเหล่านี้ทำให้ "คนทุกข์มากขึ้น" !!!

สิ่งที่เห็นในไทย "ธรรมะ" กลายเป็นหนทางเยียวยาจิตใจยอดฮิต สังเกตจากผู้คนในปัจจุบัน ที่หันหน้าเข้าหาวัด หรือ สถานปฏิบัติธรรม กันมากขึ้น ผ่านการส่งสารอธิบายหรือแปลความธรรมะในหลากหลายกิจกรรม (อีเวนท์) ขึ้นอยู่กับจริตของผู้คนในระดับปัจเจก ที่มักจะล้อไปกับความก้าวล้ำของเทคโนโลยี ที่เปลี่ยนพฤติกรรมของผู้คนในสังคม (บางส่วน) ให้ "อดทนต่ำ" ลง

นักการตลาดเรียกปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นว่า "การตลาดบนความศรัทธา" (Faith Marketing)

กรุงเทพธุรกิจ BizWeek ฉายภาพความศรัทธาที่ถูกสื่อสารผ่าน "กิจกรรม" ด้วยหลากวิธีการนำเสนอ (Presentation) "แบบไม่มีผิด ไม่มีถูก" เหมือนอาหารที่ใครชอบแบบไหนก็เสพแบบนั้น ภายใต้ผลลัพธ์เดียวกัน คือ การเยียวยาจิตใจผู้คน (รู้สึกอิ่ม มีความสุขที่ได้เสพ)


ถือเป็นการปรับรูปแบบการนำเสนอธรรมะ ให้เข้ากับพฤติกรรมของผู้คนในสังคมที่เปลี่ยนไป !

จริตของผู้คนที่ชอบ "ความเร็ว" ในแบบฉบับไฮสปีด ธรรมะต้อง"เข้าถึงง่าย"เมื่อคิดว่าตัวเองมีทุกข์ และแปลงความทุกข์เป็นเรื่องของกรรมเก่า ก็ต้อง "ตัดกรรม แก้กรรม สแกนกรรม ดีลีทกรรม" ในทางการตลาดนี่คือหนึ่งในโปรดักท์ที่ถูกนำเสนอให้เข้ากับจริตผู้คน แถมกระแสยังแรง สังเกตจากหนังสือที่มีเนื้อหาเหล่านั้น มักจะติดเบสท์เซลเลอร์

วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555

ธุรกิจกับ "โมบายแอป"



มีบทความชิ้นหนึ่งในนิตยสารฟอร์บส ที่ยีน มาร์คส เขียนเอาไว้อย่างน่าสนใจสำหรับคนทำธุรกิจ ซึ่งน่าจะรวมไปถึงองค์กรต่าง ๆ ด้วย เขาขึ้นต้นบทความด้วยคำถามว่าธุรกิจของคุณจำเป็นต้องใช้โมบายแอป โลกเขาโมบายกันหมดแล้ว และตัวเลขยอดสมาร์ทโฟนและไอแพดก็เป็นสิ่งยืนยันได้เป็นอย่างดีว่าทั้งโลกกำลังเข้าสู่ยุคโมบายกันหมดแล้ว


แต่ทำไมธุรกิจของพวกเราถึงไม่สามารถใช้โมบายเทคโนโลยีให้ได้ดีกว่านี้ ทั้ง ๆ ที่พนักงานก็ใช้สมาร์ทโฟนกันทั้งที่บริษัทซื้อให้ ทั้งที่ซื้อใช้กันเอง แต่รู้สึกไหมว่าใช้ของพวกนี้ต่ำกว่าศักยภาพจริง ๆ ที่มันทำได้ ดูเหมือนบริษัทจะไม่สามารถทำให้พนักงานมีผลิตภาพมากขึ้นได้

มาร์คสว่าไม่ต้องห่วงหรอก ปัญหานี้เกิดกับทุก ๆ คน มีคนที่รู้สึกแบบนี้เช่นเดียวกันกับคุณ เขายกตัวอย่างว่าบริษัทของเขาขายแอปพลิเคชั่นสำหรับการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า มีลูกค้าอยู่ 600 ราย เป็นโมบายโซลูชั่นที่ทำงานกับแอปพลิเคชั่นที่เขาขาย แต่สิ่งที่เขาพบก็คือไม่มีรายไหนทำได้ดีมากจริง ๆ เอาเสียเลย

มาร์คสบอกว่าการก้าวมาใช้โมบายแอปปลิเคชั่นไม่ได้เป็นเรื่องผิดพลาด แต่ปัญหาอาจจะอยู่ที่ไม่ได้นำมาใช้จริง ๆ ด้วยเหตุผลหลายอย่าง กล่าวคืออาจจะไม่ได้ตัดสินใจถึงวัตถุประสงค์ของเทคโนโลยีที่เอามาใช้เช่น จะร่นระยะเวลาการทำงานลง จะเพิ่มคำความเร็วระหว่างการรับคำสั่งซื้อ

วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การตลาดยุคใหม่ ต้อง Inbound Marketing !!

ผมเชื่อว่าวันนี้มีหลายๆคนที่อยาก เปิดร้านออนไลน์ ขายของออนไลน์ หรือทำเว็บไซต์สำหรับธุรกิจ แต่ก็ยังไม่กล้าไม่มั่นใจว่าจะทำดีหรือไม่ดี
วันนี้ผมเลยเอางานวิจัยจากทางต่างประเทศมาฝากครับ เราชาวไทยดูไว้ก่อนก็ดีครับเพราะเชื่อว่าไม่นานก็น่าจะเป็นแบบนี้เช่นกัน เพราะทุกอย่างในโลกนี้มันเป็นกระแสที่เชื่อมต่อถึงกันเสมอๆครับ


วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555


กลยุทธ์ผู้ตามอย่างเหนือชั้น Market-Follower Strategies 


กรณีบิ๊กโคล่า แบรนด์ที่ปลุกกระแสที่สร้างความฮือฮาให้กับวงการน้ำอัดลมด้วยการเบียดแย่งส่วนแบ่งการตลาดมาจาก 2 ค่ายใหญ่

ถ้ามองในเชิงกลยุทธ์ทางการตลาด ถือว่าบิ๊กโคล่าสามารถเลือกกลยุทธ์ได้ดี หรือถ้ามองบิ๊กโคล่าเป็น Follower ก็ถือว่าใช้ Market-Follower Strategies ตัวจริงเลยก็ว่าได้ โดยออกผลิตภัณฑ์เลียนแบบหรือ Me-too product

ผู้เขียนได้เคยบอกกับผู้เรียนหรือผู้ที่ฟังบรรยายว่าการวางแผนกลยุทธ์ หรือ Strategic Planning นั้นไม่จำเป็นต้องทำทุกกลยุทธ์ แต่เลือกกลยุทธ์ที่สำคัญมาทำ และทำในกลยุทธ์ที่ตนเองถนัด หรือเรียกว่า “Strategic Choice หรือ Choosing a General Attack Strategy” จึงเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่ทำให้บิ๊กโคล่าสามารถเข้ามาทำตลาดน้ำอัดลมได้ในขณะนี้ ซึ่งตลาดน้ำสีก็มีแนวโน้มจะไปได้ดีพอสมควร

หากจะมองบิ๊กโคล่าต้องบอกเลยว่าบิ๊กโคล่าใช้กลยุทธ์ผู้ตามได้ค่อนข้างดีเลย ในทางกลยุทธ์ทางการตลาดเรียกว่า “Market-Follower Strategies”

ซึ่ง บิ๊กโคล่า ไม่ใช่ Challenger ที่จะเข้ามาท้าชิงกับเป๊ปซี่หรือโค๊ก

ในกลยุทธ์ทางการตลาด การแข่งขันจะแบ่งได้ คือ Market Leader (ผู้นำ) Market Challenger (ผู้ท้าชิง) Market Follower (ผู้ตาม) และ Market Nicher (ธุรกิจรายย่อย)

บิ๊กโคล่าใช้กลยุทธ์ผู้ตามได้ค่อนข้างสมบูรณ์แบบ ผู้บริโภคมักมองว่า บิ๊กโคล่าเหมือนนักปลอมแปลง Cloner หรือ Counterfeiter คือการทำตราสินค้าหรือรูปแบบ ใครทำอะไรทำตาม

บิ๊กโคล่าไม่ใช่ Cloner ซะทีเดียว แต่เป็นลักษณะ Imitator คือการลอกเลียนแบบจากผู้นำ แต่การสร้างความแตกต่างในด้านราคา (Differentiate Price) ช่องทางจัดจำหน่าย และโฆษณาที่ต่างออกไป

การเป็นผู้ตามนั้นไม่จำเป็นต้องถอดแบบมาหมดทุกอย่าง แต่เมื่อเป็น Follower หรือผู้ตามแล้วต้องนำเอาส่วนที่ผู้นำ (Leader) และผู้ท้าชิง (Challenger) ที่เป็นจุดอ่อนมาเลือกโจมตี เนื่องจากการเข้าโจมตีจุดแข็งผู้นำนั้นค่อนข้างลำบาก ต้อง Differentiate จริงๆ

วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ไทยนำโด่งในเซาท์อีสต์เอเชีย ชอปปิ้งผ่าน “ออนไลน์-มือถือ”



ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ผลสำรวจเกี่ยวกับการชอปปิ้งออนไลน์จากมาสเตอร์การ์ด หรือ MasterCard Worldwide Online Shopping Survey เผยช่องว่างเกี่ยวกับการชอปปิ้งออนไลน์ระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะคนในภูมิภาคนี้ชอบจับจ่ายใช้สอยผ่านทางโทรศัพท์มือถือมากขึ้น


การสำรวจในครั้งนี้กลายเป็นมาตรฐานในการวัดแนวโน้มของผู้บริโภคเกี่ยวกับการชอปปิ้งออนไลน์ โดยได้มีการสำรวจทั่วทั้ง 25 ประเทศในระหว่างวันที่ 5 ธันวาคม 2554 ถึง 6 กุมภาพันธ์ 2555 สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 7,373 คน จาก 14 ประเทศ โดยสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการชอปปิ้งออนไลน์ ทั้งนี้ ผลสำรวจและรายงานประกอบต่างๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับผลประกอบการทางการเงินของมาสเตอร์การ์ดทั้งสิ้น

ในแง่ของการใช้จ่ายและวางแผนจะใช้จ่ายออนไลน์นั้น ผลสำรวจแสดงให้เห็นว่า ในเรื่องของการชอปปิ้งออนไลน์ระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วกับตลาดเกิดใหม่ในเอเชียแปซิฟิกมีช่องว่างแคบลงเรื่อยๆ โดยประเทศที่นำหน้าพุ่งแรงแซงประเทศอื่นคือประเทศไทย ทั้งในแง่ของการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ (80%) และแนวโน้มในการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ในอีก 6 เดือนข้างหน้า (93%) เคียงคู่มากับประเทศจีน โดยเกาหลี (84%) และมาเลเซีย (79%) ที่มีแนวโน้มในการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ในอีก 6 เดือนข้างหน้าสูงเช่นกัน ส่วนเวียดนามนั้น แม้มีจำนวนผู้วางแผนจะจับจ่ายออนไลน์ที่สูงถึง (87%) แต่เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสำหรับการออนไลน์ชอปปิ้งนั้นมีเพียงแค่ 61%

โดยภาพรวม ประเทศที่มีการเจริญเติบโตอย่างเห็นได้ชัดในเรื่องของออนไลน์ชอปปิ้ง ได้แก่ ประเทศไทย เพิ่มขึ้น 13% ออสเตรเลีย (+10%) อินโดนีเซีย (+15%) นิวซีแลนด์ (+9%) และฟิลิปปินส์ (+15%) ส่วนประเทศที่เกิดการถดถอยของออนไลน์ชอปปิ้งคืออินเดีย (-14%) สิงคโปร์ (-10%) และเกาหลี (-17%) ที่แม้เกาหลีจะมีแผนการใช้จ่ายออนไลน์ภายใน 6 เดือนนี้สูงถึง 84% ก็ตาม

วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2555

SMEs โมเดลใหม่



SMEs โมเดลใหม่ สู่ยุค "โมบาย ดีไวซ์" ถ้าเข้าใจ ก็ไปต่อ

มีเว็บไซต์ใช้บล็อกขายผ่านอาลีบาบาสำหรับเอสเอ็มอี ดูจะเป็นพื้นฐานที่ผู้ประกอบการต้องรู้อยู่แล้ว ไม่รู้แม้จะไม่ผิดแต่ก็ล้าหลัง ถ้าจะให้อินเทรนด์กว่านี้ การใช้แท็บเลต สมาร์ทโฟน ในการทำธุรกิจ เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องเริ่มเรียนรู้


สมาร์ทโฟนทำให้ออฟฟิศเล็กลง ทำงานเร็วขึ้น การสื่อสารสั้นกระชับ อาชีพใหม่ ๆ และโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา ขณะที่มีการพัฒนาบรรดาสมาร์ทโฟนค่ายต่าง ๆ รวมทั้งบรรดาผู้ที่พัฒนาระบบปฏิบัติการแบบใหม่บนมือถือด้วย

น.ส.ศรัญญา อัศดาชาตรีกุล รองผู้บริหารระดับสูง บริษัท Mobile Technology ในกลุ่มบริษัท I AM Consulting จำกัด แนะนำผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่จะก้าวสู่การทำธุรกิจผ่านอุปกรณ์โมบายดีไวซ์ เช่น สมาร์ทโฟน หรือแท็บแลต

แองกรีเบิร์ดเข้าใจ "สมาร์ทโฟน"

จะเรียกว่า เข้าใจทั้งไอโฟน แท็บเลต และกลุ่มผู้ใช้เลยก็ว่าได้ เพราะการใช้ระบบทัชสกีน มาเป็นเครื่องมือในการทำธุรกิจเกม ผู้พัฒนาเกม สามารถที่จะดึงกลุ่มคนที่ไม่ได้เน้นเล่นเกมจริงจัง เข้ามาเล่นเกมได้ ใช้เวลาสั้น แองกรีเบิร์ดมีการขายลิขสิทธิ์ เป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มากมาย จากการพัฒนาเกม โดยผ่านแอปเปิลสโตร์ของแอปเปิล ซึ่งผู้พัฒนาเกมสามารถที่จะเข้าถึงตลาดของสาวกแอปเปิล ที่มีสมาชิกทั่วโลกภายในเวลาอันรวดเร็ว กว่า 2 ปีที่แองกรีเบิร์ดเริ่มเติบโต จากเกมบนมือถือ ที่ปัจจุบันมีคนดาวน์โหลดแล้วไม่ต่ำกว่า 700 ล้านครั้ง อีกความสำเร็จหนึ่งของคนที่เข้าใจสมาร์ทโฟน

เฟซบุ๊ก-ทวิตเตอร์ พื้น ๆ

สำหรับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ การใช้เฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ ในการแสดงความมีตัวตน เป็นเรื่องปกติ เช่น การถ่ายรูปสวยของตัวผลิตภัณฑ์ อัพเดตบรรยากาศของรีสอร์ต ส่งขึ้นเฟซบุ๊ก แล้วเกิดการแชร์ต่อไปเรื่อย ๆ ในเครือข่ายของสมาชิกแต่ละคน หมอดูรุ่นใหม่ใช้เฟซบุ๊กให้คำปรึกษากับสมาชิก จากที่เคยใช้สื่อสิ่งพิมพ์ในการสร้างเครือข่ายเป็นเวลาหลายปี แต่เฟซบุ๊กสามารถติดตามผลได้เลย ทวิตเตอร์เองเป็นการพูดคุยอีกช่องทางหนึ่งและบอกข่าวไปสู่เครือข่ายได้ตลอดเวลา

วันจันทร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2555

รวม "ที่สุด" ในชีวิตของ "ต๊อบ" วัยรุ่นพันล้าน



ณ เวลานี้ หากใครนึกอยากรับประทาน "สาหร่ายทะเลอบกรอบ" เชื่อว่าหลาย ๆ คนสามารถหลับตาแล้วเห็นภาพ "เถ้าแก่น้อย" ขึ้นมาได้อย่างชัดเจน เพราะนั่นคือยี่ห้อสาหร่ายที่มี "ต๊อบ-อิทธิพัทธ์ กุลพงษ์วณิชย์" เด็กหนุ่มวัย 20 ต้น ๆ เป็นหัวเรือใหญ่ต่อสู้มาอย่างบากบั่น เริ่มต้นจากธุรกิจเกาลัด ก่อร่างสร้างตัวจนกลายมาเป็นเจ้าของธุรกิจเถ้าแก่น้อยที่ทำยอดขาย 2,000 ล้านบาทในปี 2554 เรียกได้ว่า ติดตลาด และครองใจผู้บริโภคทุกกลุ่มเป้าหมายไปแล้ว
     
       วันนี้ทีมงาน Life & Family ได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้ชายคนนี้ถึง 5 เรื่องราวความเป็นที่สุดในชีวิตที่ถึงแม้จะใช้เวลาพูดคุยกันเพียงไม่กี่นาที แต่ก็ทำให้เรารู้จัก และเห็นแง่มุมชีวิตของวัยรุ่นพันล้านรายนี้กันได้ดียิ่งขึ้น ส่วน 5 เรื่องความเป็น "ที่สุด" ของเขาจะมีอะไรบ้างนั้น ไปติดตามอ่านพร้อม ๆ กันเลยครับ

1. ช้าที่สุด 
       เห็นตี๋ ๆ และดูเรียบร้อยแบบนี้ ลึก ๆ แล้วแสบสันต์ไม่เบาเหมือนกัน ต๊อบเล่าว่า ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากป.6 ขึ้น ม.1 จากเด็กที่เคยใส่แว่น และค่อนข้างใส่ใจการเรียน พอมาเจอเพื่อนอีกกลุ่มหนึ่ง ทำให้ความคิดของเขาเปลี่ยนไป เขาถอดแว่นออก และไม่สนใจเรียน เพราะรู้สึกว่า เด็กเรียนสาวไม่มอง แต่ถ้าเฮี้ยว ๆ สาวจะมอง และเมื่อมีกลุ่มเพื่อนมากขึ้น ความเฮี้ยวก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย จากที่ไม่เคยโดดเรียน ก็เริ่มโดดเรียน และไปโรงเรียนสายเป็นประจำ ทำให้ผลการเรียนตกลงเรื่อย ๆ และจบม.3 ออกมาด้วยเกรดเฉลี่ย 0.8
     
       นอกจากนี้ เขามักจะให้ความสำคัญกับเพื่อน และผู้หญิงมาก ถ้ามีเงินเขาจะเต็มที่กับเพื่อน และสาว ๆ ของเขา จนคุณครูประจำชั้นเขียนบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรลงในสมุดพกเลยว่า "มนุษยสัมพันธ์ดี พูดเก่ง เถียงเก่ง ไม่ค่อยเรียน ติดผู้หญิง" นับเป็นความซ่าที่อยู่ในใจไม่รู้ลืม
     
       ไม่เพียงเท่านั้น เขาเคยเกือบจะทำให้เพื่อนม. 5 กับรุ่นพี่ม. 6 ยกพวกตีกันด้วยเรื่องผู้หญิงมาแล้ว โดยเรื่องนี้ เขาเล่าย้อนกลับไปว่า ตอนอยู่ม.5 มีสาวคนหนึ่งมาชอบพอกับเขา แต่สาวที่เป็นถึงดาวโรงเรียนคนนั้นกลับมีแฟนอยู่แล้วนั่นก็คือรุ่นพี่ม. 6 จนเรื่องทราบถึงหูรุ่นพี่ และทำให้รุ่นพี่โมโหมาก กระทั่งวันหนึ่งเมื่อเห็นคู่อริ (ต๊อบ) เดินมา รุ่นพี่ไม่รอช้ารีบปรี่เข้าไปหา และกระโดดถีบทันที

วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555

การตลาดแบบโดมิโน สร้างข่าวเด่นประหยัดงบโฆษณา


ทรรศนะของผู้บริโภคญี่ปุ่นที่มีต่อพิซซ่านั้น แตกต่างกับของผู้บริโภคอเมริกันที่มองว่าพิซซ่าเป็นของกินที่บริโภคได้บ่อยๆ ได้เรื่อยๆ เหมือนหายใจเข้า-ออก ไม่ต้องรอวาระพิเศษอะไร แต่สำหรับคนญี่ปุ่นที่คุ้นชินกับข้าวและอุด้งมากกว่า พิซซ่านับเป็นของกินเนื่องในโอกาสพิเศษ เช่นวันคริสต์มาสอีฟ ซึ่งสมาชิกครอบครัวนั่งร่วมวงกินอาหารพร้อมหน้ากัน และอาหารพิเศษบนโต๊ะก็คือ พิซซ่าถาดใหญ่ ที่ทุกๆคนในครอบครัวจะได้ร่วมแบ่งปันความอร่อย ในวันพิเศษเช่นนี้ โดมิโน สามารถทำยอดขายได้มากกว่าวันหยุดทั่วไป 3-4 เท่า


เคนจิ อิเคดะ รองประธานฝ่ายการตลาดของโดมิโน พิซซ่า ประเทศญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ในอดีต คนญี่ปุ่นคุ้นกับไก่ทอดเคเอฟซีมากกว่าพิซซ่า พอถึงวันคริสต์มาสก็จะสั่งไก่เคเอฟซีมากินกับเค้กคริสต์มาส แต่บริษัทก็พยายามทำทุกวิถีทางที่จะให้ผู้บริโภคสั่งพิซซ่ากินกับเค้กคริสต์มาสและไก่เคเอฟซี ซึ่งก็ดูเหมือนสถานการณ์จะเป็นไปในทิศทางบวกสำหรับโดมิโน

นับตั้งแต่ โดมิโน พิซซ่า เชนร้านพิซซ่าสัญชาติอเมริกัน เข้ามาบุกเบิกเปิดสาขาแรกในประเทศญี่ปุ่นในปี 2528 บริษัทสามารถทำส่วนแบ่งตลาดในเซ็กเมนต์พิซซ่าดีลิเวอรี (พิซซ่าส่งนอกสถานที่) ได้ 15% และนับเป็นเชนร้านพิซซ่าอันดับสามในแง่รายได้และจำนวนสาขา รองจากร้านพิซซ่า-แอลเอ (Pizza-LA) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการพิซซ่าดีลิเวอรีของญี่ปุ่นเอง และพิซซ่า ฮัท อย่างไรก็ตาม อัตราเฉลี่ยการบริโภคพิซซ่าของคนญี่ปุ่นยังต่ำมาก คือ 4 ครั้ง/คน/ปี ดังนั้นผู้บริหารของโดมิโนจึงตั้งเป้าบุกหนักกระตุ้นการบริโภคพิซซ่า โดยเฉพาะในปี 2555 นี้ บริษัทตั้งเป้าเอาชนะพิซซ่า ฮัทให้ได้ในแง่รายได้

วันอาทิตย์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555

Work 3.0

Work 3.0 รูปแบบการทำงานแห่งโลกอนาคตที่เกิดขึ้นแล้ววันนี้



คำว่า Work 3.0 ผมได้ยินครั้งแรกในเว็บไซต์ Odesk โดย Gary Swart; CEO แห่ง Odesk ได้อธิบายไว้ว่ารูปแบบการทำงานของโลกเราแบ่งออกเป็นสามรูปแบบ คือ Work 1.0, Work 2.0 และ ปัจจุบันคือรูปแบบของ Work 3.0

Work 1.0 เป็นรูปแบบการทำงานสไตล์ดั้งเดิมมีสำนักงาน ทุกคนต้องมาประจำที่ตนเองและทำงานแบบ 9-5 งานหลายอย่างเป็น manual, paper-work และ human base บุคคลากรส่วนใหญ่ต้องอยู่ประจำสำนักงานเพื่อจัดการกับ transaction ต่างๆขององค์กร

Work 2.0 มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรกระบวนการทำงานเป็น paperless และมีการพึ่งพาระบบ ITมากขึ้น คนทำงานเริ่มมี dynamic ไม่จำเป็นต้องอยู่ประจำที่ มีการเคลื่อนไหวเดินทางไปพัฒนาธุรกิจนอกสถานที่มากขึ้น การรับส่งข้อมูลข่าวสาร การประมวลผลข้อมูลหรือรายงานสำคัญเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตขององค์กร พนักงานระดับ middle-senior และผู้บริหาร จึงสามารถทำงานสำคัญได้โดยไม่ต้องเข้าสำนักงานใหญ่

Work 3.0 การทำงานแทบจะกลายเป็น no-boundary มีความยืดหยุ่นสูง มีการกระจายงานสู่ professional ที่ไม่ได้จำกัดเฉพาะพนักงานประจำขององค์กร แต่ออกไปสู่ outsource ที่ไม่ต้องอิงกับสถานที่และกาลเวลา งานบางอย่างส่งไปทำยังอีกซีกโลกหนึ่ง งานบางอย่างถูกจัดการผ่านช่วงวันหยุดโดยไม่ขัดต่อกฏหมาย สามารถแชร์ platform การทำงานต่างๆระหว่าง client และ contractor ผ่าน webbase เพื่อ merge ระบบการทำงานเข้าด้วยกัน

การทำงานในรูปแบบของ Work 3.0 จึงถือว่าเป็นโลกแห่งการ outsource/ contract คนทำงานจากภายนอกอาจเรียกอีกอย่างว่า virtual working style เพราะเป็นการทำงานที่ไม่ต้องมาพบปะหน้าค่าตากัน การออเดอร์งาน ตอบรับคำสั่งงาน ส่งมอบชิ้นงาน โอนเงินรับเงิน ฯลฯ กระทำผ่านออนไลน์ทั้งหมด ซึ่งในปัจจุบันแม้แต่งานธุรการก็ยังมีรูปแบบ outsource กันแล้วเรียกว่า virtual office administrator โดยอินเดียเป็นประเทศที่รับจ้างเป็น virtual office มากเป็นอันดับต้นๆของโลก

ความสำเร็จของแอปพลิเคชั่น "Draw something"

เมื่อวันเสาร์ที่แล้วเป็นวันเกิดของผู้ชายคนหนึ่งชื่อว่า ชาร์ล ฟอร์แมน


หลายๆคนคงไม่คุ้นเคยกับชื่อนี้ซักเท่าไร

แต่หากบอกว่า เขาเป็นเจ้าของบริษัท OMGPOP เจ้าของแอปพลิเคชั่นชื่อดัง

“draw something” ที่กำลังได้รับความนิยมมากในขณะนี้ หลายๆคนคงจะร้องอ๋อกันเลยทีเดียว....
 
 
ประวัติของชายคนนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากคนหนึ่ง


ฟอร์แมนอายุครบ 32 ปีเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา เขาฉลองวันเกิดกับเพื่อนของเขาในนิวยอร์ค

และในวันเดียวกันนั้น แซงก้าได้ตกลงซื้อบริษัทของเขา “OMGPOP”

ด้วยเงินสูงถึง 210 ล้านเหรียญดอลลาร์ ...หรือประมาณห้าพันล้านบาท

หลังจากแอปพลิเคชั่นนี้มียอดการดาว์นโหลดสูงถึง 35 ล้านครั้งภายใน 5 สัปดาห์

แต่...อาทิตย์ที่แล้ว ฟอร์แมนมีเงินในบัญชีเหลือเพียงแค่ 1700 เหรียญดอลลาร์ หรือ ห้าหมื่นกว่าบาทเท่านั้น

วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ทำเงินอย่าง 'สมาร์ท' บน สมาร์ทโฟน

วิถีชีวิตคนยุค 3G มีโซเชียลเน็ตเวิร์คเป็นโลกใบใหม่ อยู่กับสมาร์ทโฟน อย่าเมินเฉยต่อพฤติกรรมที่เห็น เพราะนี่อาจจะเป็นโอกาสทำเงินที่คาดไม่


แอพพลิเคชั่นมากหน้าหลายตา ต่างทยอยลงสนามสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต เพื่อเป็นตัวเลือกให้คอไอที ได้หยิบใช้รับไลฟ์สไตล์คูลๆ ของพวกเขา ขณะที่ผู้ประกอบการ แบรนด์สินค้า ธุรกิจสื่อ สำนักพิมพ์ ตลอดจนเอเยนซีโฆษณา ต่างก็ปรับตัวกันยกใหญ่ เพื่อใช้ช่องทางเดียวกันนี้ สร้างอนาคตที่เชื่อว่า “มีอนาคต” ให้กับธุรกิจ


แต่จะมีสักกี่คนที่ประสบความสำเร็จแบบจริงๆ จังๆ กับช่องทางนี้ เรียกว่า..ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ ที่สำคัญ “ทำเงิน” ได้ ไม่ใช่แค่ปรับตัว “เท่ๆ” เพื่อไม่ให้ตกกระแส เท่านั้น

“แอพพลิเคชั่น หลายๆ ตัวในโลกตอนนี้ “ทำเงินไม่ได้” ทั้งๆ ที่มีคนเล่นเยอะมาก อย่าง Line มีผู้เล่นถึง 17 ล้านคนทั่วโลก แต่เราไม่เคยต้องจ่ายเงินกับ Line ขณะที่แอพพลิเคชั่นบางตัว คนเบื่อก็หายไป ทำเงินได้ชั่วครั้งชั่วคราว ทั้งๆ ที่สำหรับธุรกิจการหารายได้จากสิ่งที่ทำสำคัญมาก”


นี่คือเสียงของหนึ่งในผู้เล่นตลาดโซเชียลเน็ตเวิร์ค "จิรัฐ บวรวัฒนะ" ประธานกรรมการบริษัท อิกไนท์ เอเชีย จำกัด (iGnite Asia) ผู้ประกาศตัวเป็น Social Network Agency & Interactive Content Provider เขาเลือกทำธุรกิจแบบ “บูรณาการ” ตั้งแต่ ทีวีคอมเมอร์เชียล จัดกิจกรรม ทำเว็บไซต์ นิตยสาร และปีนี้ก็ยังสนุกกับการขยายมาสู่ เกม และโมบายแอพพลิเคชั่นอย่างต่อเนื่อง 2 ปี ของการอยู่ในสนามนี้ ฉายภาพความจริงให้เห็น

“การจะพัฒนาอะไรออกมา เราต้องคิดตั้งแต่เริ่มว่ารายได้จะมาจากไหน บางคนอาจไปจมอยู่กับความคิดแค่ว่า ทำอย่างไรให้คนเข้ามาเล่นเยอะๆ ใช้เยอะๆ เพราะจะได้มีโฆษณาเข้ามา สำหรับเรานี่เป็นการคิดแบบชั้นเดียว”

คิดสั้น คิดชั้นเดียว ไม่ใช่ทางของพวกเขา... “อิกไนท์ เอเชีย” เลือกคิดหลายชั้น ตั้งแต่ต้นทางก่อนพัฒนาแอพสู่ตลาด โดยแอพพลิเคชั่นที่ออกมาต้องตอบโจทย์ลูกค้าให้ได้ ทำในสิ่งที่คนสนใจ และสำคัญคือ “ยังไม่มีอะไรในตลาดไปตอบสนองเขาได้” จากนั้นก็ "หาพันธมิตร" มาร่วมด้วยช่วยกันลงขัน

เขายกตัวอย่างแอพพลิเคชั่นล่าสุด ที่เตรียมเปิดตัวปลายเดือนนี้ อย่าง “Trading Tycoon” แจ้งเกิด...เซียนพันล้าน แอพพลิเคชั่นที่จะทำให้ทุกคนได้สนุกกับการเล่นหุ้นโดยที่ไม่ต้องใช้เงินจริง โดยมีผู้สนับสนุนคือ หลักทรัพย์กสิกรไทย

พวกเขาไม่ได้กำลังเจาะตลาดกลุ่มคนเล่นหุ้น แต่กำลังจุดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้เข้ามาเรียนรู้โลกของตลาดหุ้นกันมากขึ้น ด้วยรูปแบบการเล่นที่เหมือนเกม...เล่นง่าย เข้าใจง่าย ได้ความสนุกและเรียนรู้ไปกับมัน

ตอบโจทย์แอพน่าเล่นได้ ที่สำคัญ มีคนลงเงินให้ด้วย

“นี่เป็นหนึ่งในวิธีคิด แทนที่เราจะต้องไปหาเงินจากลูกค้าที่ใช้แอพตัวนี้ ผมก็ไปหาคนที่มีความคิดเหมือนกันมาร่วมกันทำ พอมีผู้สนับสนุนแทนที่แอพอย่างนี้ในเมืองนอกผู้เล่นต้องเสียเงินซื้อ อย่างต่ำๆ ก็ 5-10 เหรียญ แต่เราก็สามารถให้คนมาเล่นฟรีๆ เลย ซึ่งอนาคตยังพัฒนาเป็นกิจกรรมสร้างรายได้เข้ามาได้อีก มีหลายๆ ตัวที่เราใช้วิธีคิดแบบเดียวกันนี้”

วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

4 ข้อต้องคิดเพื่อปรับเว็บ

ทำเงินบนโลกไอที (78) : 4 ข้อต้องคิดเพื่อปรับเว็บ

  ใครคนหนึ่งเคยบอกไว้ ว่าขณะที่คนอื่นก้าวไปข้างหน้า คนที่หยุดอยู่กับที่นั้นถือว่าเดินถอยหลังอยู่ โลกของเว็บไซต์ก็เช่นกัน เรากล้าฟันธงว่าเว็บไซต์ใดที่ไม่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ในขณะที่เว็บไซต์อื่นๆพากันพัฒนารุดหน้าถึงไหนต่อไหน เท่ากับเว็บไซต์กำลังถอยหลังลงคลองเช่นกัน


บทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จัก 4 ข้อหลักที่องค์กรต้องใส่ใจหากคิดจะปรับปรุงเว็บไซต์ ซึ่งทั้ง 4 ข้อถือเป็นคัมภีร์ที่พาหลายองค์กรเดินแซงหน้าคู่แข่งมาแล้วนักต่อนัก

***ความสำคัญของการออกแบบเว็บไซต์ใหม่ Website Redesign เพื่อเพิ่มยอดขาย

เรื่องของการปรับปรุงเว็บไซต์นั้นถือเป็นเรื่องใหญ่และค่อนข้างละเอียดอ่อนอย่างมาก ในการเปลี่ยนแปลงเว็บไซต์ที่เปิดใช้งานมาระยะหนึ่งหรือไม่ว่าจะนานเท่าใดก็ตาม การเปลี่ยนแปลงหน้าตาการใช้งานมีผลกระทบหลายทางทั้งต่อเจ้าของเว็บไซต์และต่อผู้ใช้เอง หากเปรียบเว็บไซต์เสมือนต้นไม้ และ การปรับเปลี่ยนหน้าตาเว็บไซต์ใหม่เสมือนการตัดแต่งกิ่ง ซึ่งหลังจากตัดแต่งเรียบร้อยแล้ว ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอาจจะไม่เหมือนเดิมนั่นคือ ต้นไม้อาจจะไม่ออกผลให้อีกเลยหรือ หรือออกผลน้อยลง หรือ อาจจะออกผลจำนวนมากมาย มีความเป็นได้ทั้งสิ้น เรามาดูว่าการออกแบบหน้าตาเว็บไซต์ใหม่เพื่อให้ผลผลิตที่คุ้มค่าต้องทำอย่างไรบ้าง

เจ้าของกิจการที่มีเว็บไซต์อยู่แล้ว และต้องการปรับปรุงเว็บไซต์ใหม่นั้น ส่วนมากมักมีเหตุผลในการปรับปรุงหน้าตา ภาพลักษณ์ของเว็บไซต์เป็นสำคัญ ซึ่งแน่นอนว่าการปรับหน้าตาเว็บไซต์นั้นเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเว็บไซต์ให้ดีขึ้นทางหนึ่งแต่เรื่องนี้อาจจะไม่ใช่ความสำคัญแรกที่เจ้าของเว็บไซต์ต้องใส่ใจ นั่นเพราะว่าการออกแบบเว็บไซต์หรือการปรับปรุงก็ตามจำเป็นต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนก่อนเป็นอันดับแรก

บริษัทชั้นนำในต่างประเทศที่สามารถสร้างรายได้จากการขายสินค้าผ่านหน้าเว็บไซต์จำนวนมาก ไม่ได้สร้างความสำเร็จจากหน้าเว็บไซต์ที่สวยงามถูกใจเพียงอย่างเดียว แต่เพราะการปรับแต่งเว็บไซต์ให้การใช้งานเอื้ออำนวยความต้องการของพฤติกรรมผู้ใช้เป็นหลัก และออกแบบหน้าเว็บไซต์เพื่อให้ผู้ซื้อตัดสินใจได้ง่ายที่สุด ใช้งานได้ตามความต้องการ

10 แนวโน้มพลิกโฉมโลกสื่อสาร


กระแสความตื่นตัวใช้งาน 'สมาร์ทดีไวซ์' ของผู้คนทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยได้จุดประเด็นการเข้าถึง 'คอนเทนต์' บนอินเทอร์เน็ตผ่านเครือข่ายไร้สาย โดยเฉพาะเครือข่าย 3G บางคนมองข้ามช็อตเลยไปถึง 4G ซึ่งเวลานี้มีผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถืออย่างค่ายเอไอเอส เริ่มนำมาทดสอบการใช้งานในบ้านเราแล้วนั้น ทุกสิ่งอย่างล้วนโฟกัสมายังโลกการสื่อสาร โดยเฉพาะในปี 2555 นี้ มีการตั้งความหวังว่า โฉมหน้าของโลกสื่อสารจะออกมาเป็นอย่างไร


หากย้อนกลับไปดูข้อมูลในปีที่ผ่านมา พบว่ามียอดผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั้งโลกมากกว่า 6,000 ล้านคน มีการส่งข้อความรวมกันมากกว่า 6 ล้านล้านครั้ง ซึ่งดูเหมือนว่าเยอะมาก แต่ที่มากไปกว่านั้นคือ 'อีเมล' เพราะมีการส่งอีเมลบนมือถือมากกว่า 107 ล้านล้านฉบับ ที่น่าเหลือเชื่อยิ่งไปกว่านั้น มีการดูวิดีโอบน 'ยูทูป' มากกว่า 7.3 แสนล้านครั้ง นักวิเคราะห์ประเมินอีกว่า ในอีก 8 ปีข้างหน้าจะมีสมาร์ทดีไวซ์ที่เชื่อมต่อโลกสื่อสาร ถึงหลักล้านล้าน เครื่อง

นั่นคือภาพรวมทั้งหมด แต่ถ้ามองกลับมาในไทยจะพบว่า มีอัตราการขยายตัวการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงหรือบรอดแบนด์ประมาณ 22.8% ขณะที่สมาร์ทโฟนมีการเติบโต 55% โดยมีผู้เข้าชมยูทูปที่คนไทยอัปโหลด 10 อันดับแรกถึง 505 ล้านครั้ง และที่น่าสนใจ คือ คนไทยที่อยู่ในโลกออนไลน์ (อินเทอร์เน็ต) กว่า 75.9% ใช้งาน 'เฟซบุ๊ก' ซึ่งถือเป็นอันดับที่ 16 ของโลก

แล้วในปีนี้โลกสื่อสารจะเป็นอย่างไร อะไรที่จะเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลที่จะเข้าเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งาน จากข้อมูลที่ 'โจนาห์ พรานสกี้' ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดฝ่ายกลยุทธ์และการตลาดแบบเจาะลึก บริษัท แอมด็อคส์ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำบริการด้านนวัตกรรมเกี่ยวกับจัดการประสบการณ์ลูกค้าในระบบสื่อสารที่คลุกคลีอยู่ในอุตสาหกรรมสื่อสารไร้สายมานาน 30 ปี วิเคราะห์ถึงเมกะเทรนด์ที่จะมีอิทธิพลต่อโลกสื่อสารในช่วงปีนี้ว่า มีด้วยกัน 10 เทรนด์

เริ่มจากเทรนด์แรกที่มองเห็นก็คือ ความคาดหวังของผู้ใช้บริการจะถูกตอบรับผ่านสินค้าและบริการที่บริษัทผู้ผลิตและเจ้าของคอนเทนต์ในรูปแบบของประสบการณ์ที่สร้างสรรค์ขึ้นมา จะเห็นได้จากการใช้สินค้าของค่าย 'แอปเปิล' ไม่ว่าจะเป็นไอแพด ไอโฟน จะได้ประสบการณ์ใช้งานที่ง่ายผ่านผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมที่ส่งเสริมให้ชีวิตง่ายขึ้น ขณะที่ 'กูเกิล' ก็จะได้ประสบการณ์เข้าถึงข้อมูลที่หลากหลาย ถ้าเป็น 'เฟซบุ๊ก' จะได้ประสบการณ์ในเรื่องคอมมูนิตี้ ผ่านบุคคลที่เชื่อถือได้ และ 'อเมซอน' ก็จะทำให้เกิดประสบการณ์ซื้อหาของได้แทบทุกชนิดบนโลก

วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

10 สินค้าสุดฮอตนักชอปไทยนิยมซื้อ


กระแสการซื้อสินค้าออนไลน์มีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง และจะเห็นได้ชัดว่าแฟชั่นเสื้อผ้าผู้หญิงติดอันดับแรกสินค้าขายดีที่สุดบนออนไลน์จากการสำรวจและเผยพฤติกรรมนักชอปไทยจากสนุกดอทคอม

สนุกดอทคอมจัดอันดับสินค้าขายดีที่สุดบนเว็บซื้อขายออนไลน์ Shopping.co.th ในปี 2554

อันดับ 1 ตกเป็นของสินค้ากลุ่มแฟชั่นคือ เสื้อคลุม แจ็กเกต ยีนส์แต่งลูกไม้ สไตล์อินเทรนด์เกาหลี

ขณะที่อุปกรณ์ไอที ในช่วง 1-2 ปีนี้ ต้องยกให้สุดยอดนวัตกรรมใหม่ที่มาปฏิวัติวงการไอที ด้วยอุปกรณ์ไฮเทคอย่างแท็บเลต สร้างกระแสตื่นตัวให้กับตลาดชอปปิ้งออนไลน์ได้ไม่น้อย โดยจากการจัดอันดับสินค้าไฮเทคในกลุ่มแกดเจ็ต (Gadget) ของ Shopping.co.th แท็บเลตมียอดการซื้อขายเป็นอันดับ 1 ในปี 2554 ที่ผ่านมา

รองลงมาได้แก่ กล้องดิจิตอล และโทรศัพท์มือถือสมาร์ตโฟน

สำหรับแนวโน้มปี 2555 นี้ สนุก! มองว่า เกาหลีฟีเวอร์ยังแรงไม่หยุด อิทธิพลทั้งจากศิลปินดารานักร้องนักแสดงเกาหลีที่ทำให้แฟนคลับไทยชื่นชอบ และยังแพร่อิทธิพลต่อแวดวงแฟชั่นเสื้อผ้าด้วยเช่นกัน โดยเทรนด์เกาหลีจะยังคงอยู่ในกระแสของนักชอปออนไลน์ในปี 2555 อย่างต่อเนื่อง

สำหรับเทรนด์สีนั้น สีส้มมาแรงสุด และกำลังเป็นสีที่วงการแฟชั่นนิยมมากที่สุดในปี 2555 โดยโทนสีดำยังคงเป็นโทนสีมาแรง

สนุก! มองข้อดีในการชอปปิ้งออนไลน์ คือ ลดเวลาการเดินทาง สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนไทยยุคใหม่ เพราะสะดวกและง่ายต่อการค้นหาสินค้า สามารถเลือกซื้อสินค้าได้ในราคาสมเหตุสมผลจากร้านค้าออนไลน์มากมาย ด้วยโปรโมชั่นลดราคาพิเศษจากเจ้าของร้านค้าโดยตรงเพื่อกระตุ้นการซื้อขาย ถือเป็นปัจจัยหลักของการชอปปิ้งออนไลน์ สำหรับกลุ่มเป้าหมายนักชอปออนไลน์ของ Shopping.co.th ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนอายุ 24-40 ปี ซึ่งกลุ่มดังกล่าวนี้มีแนวโน้มการจับจ่ายซื้อสินค้าอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ สนุก! ยังพบว่าการขายดีลคูปองออนไลน์ โดยเป็นการจัดโปรโมชั่นให้ส่วนลดจากเจ้าของธุรกิจร้านค้า ร้านอาหาร สปา โรงแรมหรือกิจกรรมสันทนาการต่างๆ ผ่านสื่อออนไลน์ ปรากฏว่าในปีที่ผ่านมานักชอปนิยมซื้อคูปองออนไลน์ของสนุก! คูปอง (http://coupon.sanook.com) เพิ่มมากขึ้น

ด้านเอ็นโซโก้ บริษัทในเครือลีฟวิ่งโซเชียล มีการปรับโฉมเว็บไซต์ใหม่ (www.ensogo.com) ให้ทันสมัยและโฉบเฉี่ยวกว่าเดิม เพื่อสร้างสรรค์ประสบการณ์การชอปปิ้งที่สนุกสนานยิ่งกว่าที่เคย ด้วยการใช้งานที่เร็วขึ้นถึงสองเท่า ช่วยให้สมาชิกค้นพบดีลใหม่ๆ ได้ในทุกๆ วัน ด้วยฟีเจอร์การแบ่งดีลตามเขตและจังหวัด รวมถึงการแบ่งดีลตามหมวดหมู่ต่างๆ


โดย ผู้จัดการ 360° รายสัปดาห์16 กุมภาพันธ์ 2555
http://bit.ly/xHh82o

Brand Modernization เซียงเพียว

เปิดยุทธศาสตร์ Brand Modernization เซียงเพียว รับเออีซี สู่ผู้นำใน 3 ปี

ต่อยอดความสำเร็จอาณาจักร “เบอร์แทรม เคมิคอล”ผู้ผลิตและจำหน่ายยาดม “เซียงเพียว" ยาหม่องน้ำ "เซียงเพียวอิ๊ว” และ ยาดม “เพพเพอร์มินท์ฟิลด์” จากยุคแรกสู่ยุคเจนเนเรชั่นที่ 2 ที่คมความคิด เปิดแผนยุทธศาสตร์เชิงรุกรอบทิศแบบBrand Modernization เน้นปรับภาพลักษณ์ใหม่ครั้งใหญ่ในรอบ 10 ปีของสินค้าให้ทันสมัย สดใหม่ เป็นที่ยอมรับให้กับคนรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่องตอกย้ำความพร้อมสู่เวทีสากล รับเออีซี


Brand Modernization ปรับภาพลักษณ์

ภาพลักษณ์ยาดม กับกลุ่มวัยรุ่น อาจจะดูไม่เข้ากันมากนัก เมื่อเทียบกับกลุ่มคนแก่ หรือวัยชรา ซึ่งหลายต่อหลายแบรนด์ในสินค้ากลุ่มนี้ ต่างพยายามหาน่านน้ำใหม่ สร้างกลุ่มเป้าหมายที่อายุน้อยลง เพื่อลดข้อจำกัดของสินค้า และเป็นการกระตุ้นยอดขายให้มากขึ้น ยาดมเซียงเพียว เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ กับการพลิกเกมการตลาดใหม่ ที่หันมาโฟกัสกลุ่มเป้าหมายที่เป็นวัยรุ่น ซึ่งดูแล้วประสบความสำเร็จอย่างมาก

การโฟกัสกลยุทธ์ที่เรียกว่า Brand Modernization เพื่อปรับภาพลักษณ์ของสินค้าให้ทันสมัย สดใหม่ เป็นที่ยอมรับให้กับคนรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การใช้โฆษณาสื่อสารภาพลักษณ์ใหม่อย่างต่อเนื่อง การเลือกใช้พรีเซ็นเตอร์วัยรุ่น และการสร้างสรรค์กิจกรรมมันส์ๆ เพื่อเรียกความสนใจจากกลุ่มวัยรุ่น คือกุญแจความสำเร็จของ “เบอร์แทรม เคมิคอล”

ดอกบัวคู่บุกตลาดรังนก

กลยุทธ์การตลาด : ดอกบัวคู่บุกตลาดรังนก แต่ไม่ควรใช้ยี่ห้อดอกบัวคู่


โดย ธันยวัชร์ ไชยตระกูลชัย


ดอกบัวคู่บุกตลาดรังนก แต่ไม่ควรใช้ยี่ห้อดอกบัวคู่

แวดวงการตลาดมักจะมีอะไรให้ฮือฮาเสมอ

ไม่ว่าเจ้าของแบรนด์ เจ้าของสินค้า

จะเจตนา หรือเพราะอุบัติเหตุ

ฤาเพราะกระแสผู้บริโภค .. ก็ตามแต่

อย่างความเคลื่อนไหวล่าสุด ของต้นตำรับยาสีฟันสมุนไพร อย่าง “ดอกบัวคู่”

ซึ่งได้ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ แหวกออกจากไลน์เดิม (อย่างยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก แชมพู หรือครีมอาบน้ำ -- ซึ่งล้วนแต่จะต้องมีคำว่า สมุนไพร พ่วงท้ายในผลิตภัณฑ์เหล่านั้นเสมอ)

ครานี้ เค้าออก "รังนก”

และก็ใช้ยี่ห้อ ดอกบัวคู่ วางหราบนหน้ากล่อง และหน้าขวด

เวลาคนมอง ก็เข้าใจไปได้ไม่เกินสองแบบ

นั่นคือ รังนกดอกบัวคู่ ไม่ก็ ดอกบัวคู่รังนก

“สาเหตุที่เราใช้แบรนด์ดอกบัวคู่ เพราะเป็นที่รู้จักอยู่แล้ว จะได้ไม่ต้องเสียเวลาโปรโมตมาก และดอกบัวคู่สามารถสื่อความเป็นแบรนด์เพื่อสุขภาพที่ลิงก์กับรังนกได้ เชื่อว่าผู้บริโภคจะให้การตอบรับและไม่สับสน ที่สำคัญยังผลิตภัณฑ์รังนกช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของแบรนด์ดอกบัวคู่ให้ดูดีขึ้นอีกด้วย" ปิติ ลีเลิศพันธ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ดอกบัวคู่ จำกัด กล่าว

“บริษัทได้ขยายไลน์ธุรกิจด้วยการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ "รังนก" ภายใต้แบรนด์ "ดอกบัวคู่" โดยทดลองตลาดตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมา และจะเริ่มรุกตลาดมากขึ้นในปีนี้” เขาเล่าต่อ “ปัจจุบันมีวางจำหน่ายตามร้านค้าทั่วไปที่เป็นเทรดดิชั่นนัล โดยใช้หน่วยจัดจำหน่ายของบริษัทเป็นผู้กระจายสินค้าด้วยตัวเอง นอกจากนี้ยังมีวางจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ตของ เดอะมอลล์ทุกสาขา”

กลยุทธ์หลักของรังนกดอกบัวคู่ คือความคุ้มค่า คุ้มราคา

วันพฤหัสบดีที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ศึก CRM บู๊ทส์ VS วัตสัน จัดหนักผ่านบัตร ปั๊มยอดสมาชิก

2 บิ๊กแบรนด์จากร้านจำหน่ายสินค้าเพื่อสุขภาพและความงาม (Speacialty Store) เมืองไทย “บู๊ทส์ - วัตสัน” เปิดเกมการแข่งขันรอบใหม่ ประเดิมไตรมาสแรกของปีมังกร ในรูปแบบการทำซีอาร์เอ็มผ่านบัตรสมาชิก ออกแคมเปญ และอัดโปรโมชั่นเต็มแรง

ด้านแบรนด์ “ บู๊ทส์” กับกลยุทธ์ฮาร์ดเซลผ่านบัตร Advantage Card แบบจัดหนักลดราคาแจกสินค้าแบบ เร่งมือโกยยอดสมาชิกเข้าสู่ระบบบัตรสมาชิก พร้อมเร่งขยายสาขาประกบคู่แข่ง ส่วนแบรนด์ “วัตสัน” เดินหน้าอัดโปรโมชั่นลดแลกแจกแถมภายใต้แนวคิด Value for Money ผ่านบัตรสมาชิกวัตสัน เม็มเบอร์ การ์ด ที่มีฐานสมาชิกกว่า 6 แสนราย

 
จุดกำเนิดสงคราม 2 คู่เดือด

ย้อนกลับไปเมื่อ 16 ปีก่อน บู๊ทส์ และวัตสัน เข้ามาเมืองไทยในระยะเวลาไล่เลี่ยกัน และวางตำแหน่งเป็น"ร้านเพื่อสุขภาพและความงาม"(Speacialty Store) โดยแบรนด์วัตสัน เข้ามาเปิดในเมืองไทยตั้งแต่ปี 2539 ก่อนบู๊ทส์เพียงปีเดียว

ผลวิจัยพฤติกรรมลูกค้ารถหรู Switch Brand ต่ำ Loyalty สูง

สำหรับแบรนด์อื่นที่ไม่ใช่บิ๊กทรีจากเยอรมนีที่ครองความยิ่งใหญ่ในตลาดรถยนต์ระดับหรู แต่คิดเข้ามากอบโกยยอดขายในตลาดนี้ หลังอ่านบทวิจัยชิ้นล่าสุดของทาง Polk and AutoTrader แล้วอาจถอดใจง่ายๆ หรือพานไม่อยากเข้าตลาดอีกเลยก็ได้
 
 
งานวิจัยชิ้นใหม่ล่าสุดของทาง Polk and AutoTrader มีขึ้นภายใต้หัวข้อที่เรียกว่า

2012 New Luxury Vehicle Loyalty Study

ยืนยันว่าลูกค้าของแบรนด์รถยนต์ระดับหรู หากยึดมั่นอยู่กับแบรนด์ใดแล้ว เป็นเรื่องยากที่จะมีสิ่งที่เรียกว่า “ข้ามแบรนด์” เกิดขึ้น เพราะความยึดมั่น หรือ Brand Loyalty ค่อนข้างสูงกว่ารถยนต์กลุ่มอื่นๆ

ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลยที่จะเห็นลูกค้าของบีเอ็มดับเบิลยูกระโดดข้ามมาหาเมอร์เซเดส-เบนซ์ หรือออดี้ อีกทั้งการตัดสินใจซื้อรถยนต์สักรุ่นของลูกค้าที่เป็นหน้าใหม่ในตลาดก็จะมองที่แบรนด์เป็นหลัก

“ฉะนั้น ถ้าคุณเป็นเบอร์ 1 เบอร์ 2 หรือเบอร์ 3 ในตลาด ตรงนี้ถือว่าได้เปรียบอย่างมาก” ริค เวนเชล รองประธานฝ่ายวิจัยของ Polk and AutoTrader กล่าว

แม้ไม่ใช่งานวิจัยอ้างอิงจากกลุ่มตัวอย่างของลูกค้าทั่วโลก แต่การดำเนินการครั้งนี้พุ่งตรงไปที่ชาวอเมริกันที่เป็นกลุ่มลูกค้าของแบรนด์รถยนต์ระดับหรู และเป็นที่ทราบกันดีว่า สหรัฐอเมริกา ถือเป็นตลาดใหญ่สำหรับแบรนด์ไฮเอนด์เหล่านี้ แม้ในช่วงหลังตลาดจีนเริ่มทำยอดตีตื้นขึ้นมาหลังมีเศรษฐีใหม่เกิดขึ้นทุกวันก็ตาม

การตลาดอัจฉริยะทำการตลาดสมาร์ตโฟน


แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือ จากมือถือธรรมดามาเป็นโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ตโฟน พบว่าไม่ได้ประสบความสำเร็จทางการตลาดเสมอไป หากกิจกรรมการตลาดที่เกี่ยวข้องกับสมาร์ตโฟนไม่ได้แสดงความอัจฉริยะให้เพียงพอต่อความน่าเชื่อถือด้านบริการรูปแบบใหม่ สมรรถนะของเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าของสมาร์ตโฟนแบรนด์นั้นๆ

ตามรายงานการวิเคราะห์ทางการตลาดของ Analysys Mason ที่ทำการสำรวจผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ พบว่า 46% หรือเกือบครึ่งหนึ่งหันมาใช้สมาร์ตโฟนแล้ว แต่ความรู้สึกหลังจากการใช้สมาร์ตโฟน ไม่ได้ทำให้ผู้ใช้รู้สึกว่าตนได้แรงจูงใจในการยกระดับอัจฉริยะในการใช้งานโทรศัพท์มือถือให้สมกับชื่อสมาร์ตโฟนแต่อย่างใด

นอกจากนั้น การศึกษาของ TMT ที่เป็นส่วนหนึ่งของรายงานใน Analysys Masonที่มาจากการสอบถามผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ 7,485 คน ใน 6 ประเทศทางยุโรปและสหรัฐ ระบุว่า ราคาที่แพงลิ่วของสมาร์ตโฟน และการตัดสินใจซื้อสมาร์ตโฟนโดยไม่เข้าใจเกี่ยวกับฟังก์ชั่นการใช้งานที่ล้ำหน้าอย่างเพียงพอ กลายเป็นจุดที่ทำให้การรับรู้และทัศนคติของผู้ใช้สมาร์ตโฟนไม่ได้เห็นการเพิ่มความอัจฉริยะของสมาร์ตโฟนตามชื่อไปด้วย

วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ต๊อบ อิทธิพัทธ์ เจ้าของธุรกิจพันล้าน เถ้าแก่น้อย


หลายคนอาจจะได้ดูตัวอย่างภาพยนตร์เรื่อง "TOP SECRET วัยรุ่นพันล้าน" กันมาแล้ว ด้วยตัวอย่างที่น่าติดตามต่างจากภาพยนตร์วัยใสทั่วไป เพราะภาพยนตร์ดังกล่าวนั้นมีแรงบันดาลใจมาจากเรื่องจริง!! ของเด็กหนุ่มที่ติดเกมออนไลน์... เรียนหนังสือไม่เก่ง แถมถูกประณามว่าเป็นเด็กไม่เอาไหน แต่ใครจะรู้ว่าเขาคนนั้นจะกลายมาเป็นเศรษฐีร้อยล้านเพียง อายุแค่ 23 ปีเท่านั้น (เขาร้อยล้านตอนอายุ 23 แต่ตอนนี้ 26 แล้วอ่า) !


นั่นแน่... อยากรู้กันแล้วใช่ไหมว่าเขาคนนั้นคือใคร แล้วทำไมเขาถึงกลายเป็นเศรษฐีได้ในเวลาอันสั้น ไปทำความรู้จักกับ "ต๊อบ อิทธิพัทธ์ กุลพงษ์วณิชย์" เจ้าของธุรกิจสาหร่ายทอดกรอบแบรนด์ "เถ้าแก่น้อย" กันเลย

ต๊อบ อิทธิพัทธ์ กุลพงษ์วณิชย์ เศรษฐีร้อยล้านคนนี้ ก่อนหน้านี้เขาถูกตราหน้าว่าเป็นคนไม่เอาถ่าน ไม่สนใจเรียน ชีวิตของ ต๊อบ มีแต่คำว่า "เกม" เท่านั้น โดยต๊อบเริ่มเล่นเกมออนไลน์ Everquest มาตั้งแต่ ม.4 ถึงขนาดสะสมแต้มจนรวยที่สุดในเซิร์ฟเวอร์ และกลายเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงอย่างมากในเกมดังกล่าว จนมีฝรั่งมาขอซื้อไอเท็มเด็ด ๆ ไอเท็มเจ๋ง ๆ ที่หายากในเกมจากเขา และนั่นก็เป็นการเริ่มต้นสร้างรายได้ของต๊อบ ซึ่งการซื้อขายไอเท็มเกมดังกล่าว บวกกับการที่เป็นผู้ทดสอบระบบเกมในฐานะคนเล่น ก็สร้างรายได้ให้เขาเป็นกอบเป็นกำ จนมีเงินเก็บเป็นหลักแสนบาทเลยทีเดียว

วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

พลังใหม่ "โซเชียลเน็ตเวิร์ก" สร้างแบรนด์สร้างโอกาสธุรกิจ

องค์กรปัจจุบันตื่นตัวนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารการตลาดมากขึ้นมาก ปรากฏการณ์หลายต่อหลายครั้งในสังคมออนไลน์ "โซเชียลเน็ตเวิร์ก" ทำให้หลายองค์กรเห็นความสำคัญของ "สื่อสังคมออนไลน์" มากขึ้นด้วย


จำนวนผู้ใช้ที่เพิ่มมากขึ้นในแต่ละวัน ทำให้โอกาสทางธุรกิจสูงขึ้นเช่นกัน อีกเหตุผลสำคัญคือ "ฟรี" ทำให้ "การใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กกับการบริหารงานยุคใหม่" อยู่ในความสนใจ และเมื่อเร็ว ๆ นี้ "ประชาชาติธุรกิจ" ร่วมกับสมาคมศิษย์เก่าเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดการสัมมนาในหัวข้อดังกล่าว


"ดร.ศิริกุล เลากัยกุล" ประธานกรรมการบริหาร บริษัท Brandbeing Consultant จำกัด พูดถึงการสร้างแบรนด์ในยุคที่ "โซเชียลเน็ตเวิร์ก" มีอิทธิพลขับเคลื่อนการตลาดว่า ควรนำมาใช้ประโยชน์ เพื่อส่งเสริมการตลาด อย่างแรกคือ Co-Creation มีจุดมุ่งหมายให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการสร้างแบรนด์ เพราะการทำให้ฝ่ายวิจัยและพัฒนาขององค์กรแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้บริโภคโดยตรง ทำให้สินค้าหรือบริการของบริษัทพัฒนาไปในทางที่ลูกค้าต้องการ

ขั้นตอนนี้ทำผ่านโซเซียลเน็ตเวิร์กได้ เช่น จัดกิจกรรมในเฟซบุ๊กให้ลูกค้าร่วมออกแบบเสื้อแลกรางวัล โดยดูจากคนในแฟนเพจที่กดไลก์ ซึ่งบริษัทพอที่จะการันตี ได้ว่าคนที่กดไลก์น่าจะซื้อผลิตภัณฑ์

ถัดมาคือ Gamification เพราะเกมส่งผลถึงจิตวิทยาของผู้บริโภคได้ โดยอาจสอดแทรกข้อมูลผลิตภัณฑ์ขององค์กร เพื่อให้ลูกค้ารับรู้ผ่านเกม แต่ตัวเกมต้องไม่ยากหรือง่ายเกินไป เพื่อให้ผู้เล่นติดและสนุก รวมถึงต้องอัพเดตให้เกมมีฟังก์ชั่นใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นตลอดเวลา นอกจากการให้ข้อมูลสินค้าแล้ว ยังประยุกต์ใช้เพื่อ CSR ขององค์กรได้ด้วย เช่น การปลูกต้นไม้ในเกม

ถอดเศรษฐศาสตร์'ไอโฟน' อีกมุมที่ต้องมอง

ไม่มีใครปฏิเสธว่า"แอปเปิล"เป็นยักษ์ไอทีผู้เปลี่ยนแปลงโลกไม่ใช่แค่ "ผลิตภัณฑ์" หากแต่รวมถึง "ภูมิทัศน์ธุรกิจ" ที่ไม่มีวันเหมือนเดิมอีกต่อไป




รายงานผลประกอบการไตรมาสล่าสุดของ "แอปเปิล" สร้างความประหลาดใจ ด้วยตัวเลขผลกำไรสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยมีรายได้ในไตรมาสแรกปี 2555 ซึ่งสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 อยู่ที่ 4.6 หมื่นล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากระดับ 2.6 หมื่นล้านดอลลาร์ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ขณะที่กำไรสุทธิอยู่ที่ 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 118% จากช่วงเดียวกันของปี 2553

ตัวเลขดังกล่าว มาจากยอดขายไอโฟนที่ทำสถิติสูงสุด 37 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้น 128% จากปีก่อนหน้า ส่วนยอดขายไอแพด 15.4 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้น 111% ทว่าเบื้องหลังความสำเร็จดังกล่าวมีเรื่องราวที่สะท้อนความเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะภูมิทัศน์ทางธุรกิจในสหรัฐและเอเชียที่เปลี่ยนไปจากเดิม

"นิวยอร์ก ไทม์" ถอดเศรษฐศาสตร์ไอโฟน เพื่ออธิบายว่า ทำไมแบรนด์อเมริกัน ที่ประสบความสำเร็จสูงสุดเช่นนี้ จึงไม่สามารถผลักดันเศรษฐกิจของสหรัฐผ่านการจ้างงานมหาศาล เหมือนที่บริษัทอเมริกันยักษ์ใหญ่อย่าง "เจนเนอรัล มอเตอร์ส" (จีเอ็ม) และ "เจนเนอรัล อิเล็กทริก" (จีอี) เคยช่วยประคับประคองเศรษฐกิจสหรัฐด้วยวิธีนี้มาแล้ว

ประธานาธิบดีบารัก โอบามา เคยถามเรื่องนี้ต่อหน้า "สตีฟ จ็อบส์" ผู้บริหารคนเก่งของแอปเปิลที่ล่วงลับไปแล้ว เมื่อครั้งที่ประธานาธิบดีโอบามา ร่วมวงรับประทานมื้อค่ำ กับบรรดาผู้บริหารของซิลิคอน วัลเลย์ ในเดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว ประธานาธิบดีโอบามาอยากรู้ว่า ทำไมงานผลิตของแอปเปิลถึงไม่กลับมาจ้างชาวอเมริกัน ขณะที่จ็อบส์ตอบว่า งานเหล่านั้นจะไม่กลับมาอีกแล้ว

2555 ในเกลียวคลื่น 'E-Book'

เป็นเกลียวคลื่นที่เริ่มถาโถมเข้ามาบ้างแล้วเมื่อปีก่อน สำหรับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์นาม 'e-book' ซึ่งเขย่าวงการหนังสือไทยได้มิใช่น้อย..



..มาถึงปีนี้จะมีอะไรคืบหน้าหรือสร้างความประหลาดใจให้พวกเราได้ประจักษ์กันบ้าง


ณ วันนี้คนในวงการหนังสือคงไม่มีใครกล้าเอ่ยปากว่าไม่เคยได้ยินคำว่า 'e-book' (อีบุ๊ค) เพราะมันได้เข้ามามีบทบาทและแบ่งสัดส่วนตลาดหนังสือทั่วโลกไปมากมายแล้ว โดยเฉพาะฟากฝั่งทวีปอเมริกาและยุโรป e-book แทบกลืนตลาดหนังสือไปทั้งตลาด มิหนำซ้ำยังทวีความนิยมขึ้นเรื่อยๆ ด้วย

สำหรับประเทศไทยเองกระแส e-book ก็คืบเข้ามาหลายปีแล้ว แม้ช่วงต้นจะแผ่วๆ ทว่าหนึ่งปีที่แล้วกระแส e-book ก็ถูกจุดประกายขึ้นในประเทศไทยและโหมกระพือเยี่ยงไฟลามทุ่งพร้อมๆ กับความนิยมในโทรศัพท์อัจฉริยะ (smart phone) และบรรดาแทบเล็ต (tablet) กระทั่งจบปีกระต่ายด้วยยอดผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์ไอทีจำพวกนี้อย่างมหาศาล ที่สำคัญจำนวนสำนักพิมพ์และร้านหนังสือที่กระโดดลงร่วมตลาด e-book ในไทยก็มากขึ้นด้วย อาทิ เจ้าตลาดการ์ตูนไทยอย่างบันลือกรุ๊ป, เอเซียบุ๊คส์, ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ฯลฯ นอกจากนี้แล้วก็ยังมีนิตยสารอีกหลายหัว ที่ขยับปรับตัวไปสู่รูปแบบของ 'e-book'

ปีนี้กระแส e-book จะยังลุกโชนหรือไม่ หรือจะมอดดับเป็นเถ้าธุลี จุดประกายวรรณกรรมยินดีหาคำตอบให้แก่มิตรรักทุกท่าน ผ่านผู้เชี่ยวชาญด้าน e-book อย่าง ดร.พลภัทร์ อุดมผล แห่งบริษัท ไอที เวิร์คส เพื่อคลายความสงสัยและเพื่อความกระจ่างแจ้ง

“ควิกเฟรม” ธุรกิจของคนช่างคิด

เวที ตู้โชว์ โต๊ะ เก้าอี้ บันได และสารพัดของใช้ “พับได้”กระทั่ง เวทียกรถหนีน้ำ ผลงานของควิกเฟรม ผู้ผลิตสินค้านวัตกรรม ไม่เล่นในตลาด Me too



“เราจะมีสินค้าใหม่ออกมาอยู่เรื่อยๆ เรียกว่าออกแบบใหม่แทบทุกปี โดยอาศัยประสบการณ์และมองลึกเข้าไปถึงปัญหาของลูกค้า และโอกาสที่เขาจะได้รับจากสินค้าที่เราคิดขึ้น สำหรับผมการออกแบบจะคิดแค่เรื่องความสวยงามไม่ได้ แต่ต้องแก้ปัญหา และสร้างโอกาสให้กับลูกค้าได้ด้วย”

เสียงสะท้อนจาก "วัชรสิทธิ์ ทรงวัฒนโยธิน" กรรมการผู้จัดการ บริษัท ควิกเฟรม ซิสเต็มส์ จำกัด หรือที่คน ควิกเฟรมเรียกกันติดปากว่า “เฮีย”

เขาไม่ได้เป็นผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ หรือของแต่งบ้านมีดีไซน์ ที่ต้องขยันพัฒนา “ของใหม่” เพื่อป้อนตลาด แต่ คือผู้ผลิตสินค้าสนองการจัดงานอีเวนท์ ผู้สร้างสรรค์ เพื่อแก้ปัญหาให้ลูกค้าและหาจุดยืนที่แตกต่างให้กับธุรกิจพันธุ์เล็กของเขา

"เวทีพับได้" มาพร้อมกับบันได โต๊ะ เก้าอี้ ตู้โชว์ เคาน์เตอร์ และหลากหลายของจัดกิจกรรมที่สามารถพับเก็บได้ง่ายดาย เบาแรงเมื่อขนย้าย และสะดวกสบายเมื่อจัดเก็บ นี่เป็นเพียงผลงานบางส่วนของผู้ประกอบการนักคิด และไม่ใช่ครั้งแรกที่เขาเลือกใช้พลังสมองขับเคลื่อนธุรกิจ

สำหรับ "วัชรสิทธิ์” ตั้งแต่วันแรกของการเริ่มต้นธุรกิจ เขาก็คิดไม่เหมือนคนอื่นแล้ว

“ตั้งแต่เกิดมาผมไม่เคยเป็นลูกจ้างใคร ผมเริ่มจากศูนย์ และทำทุกอย่างขึ้นมาด้วยตัวเอง”