วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

คว้าโอกาสกับศาสตร์แห่งการชอปปิง

คว้าโอกาสกับศาสตร์แห่งการชอปปิง Why We Buy :The Science of Shopping



การเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันบางครั้ง เกิดขึ้นแรงและรวดเร็ว โดยอย่างที่เราไม่คาดคิด เห็นได้ชัดเจนคือปัญหาจากภัยธรรมชาติ

ในแง่การตลาดการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ มีผลกระทบโดยตรงต่อพฤติกรรมผู้บริโภค เป็นทั้งวิกฤติและโอกาส ขึ้นอยู่กับว่าเรามองการเปลี่ยนแปลงนั้นอย่างไร และมีความยืดหยุ่นเพียงพอหรือไม่ ที่จะปรับเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส

วันนี้ดิฉันอยากจะนำเสนอหนังสือเล่มหนึ่ง ให้กับนักการตลาดและนักบริหารทุกท่าน หนังสือเล่มนี้ เป็นแรงบันดาลใจสำคัญทำให้ดิฉันตัดสินใจเข้ามาอยู่ในแวดวงของนักวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภค คือหนังสือที่ชื่อว่า “Why We Buy : The Science of Shopping (ศาสตร์แห่งการชอปปิง)” โดย Paco Underhill (พาโค่อันเดอร์ฮิลล์) เป็นหนังสือติดอันดับขายดีที่สุดในสหรัฐอเมริกาติดต่อกันกว่าทศวรรษ และเป็นคัมภีร์ของนักการตลาดทั่วโลกจวบจนปัจจุบัน

เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ สอนให้นักการตลาดรู้จักความสำคัญของการเฝ้าสังเกต (Observation) ให้เห็นโอกาสการทำความเข้าใจกับสิ่งที่มีอยู่อย่างลึกซึ้ง เพื่อหาข้อเท็จจริง หรือสิ่งที่เราคิดว่าดีอยู่แล้ว ว่ามีความผิดพลาดใดๆ ซ่อนอยู่หรือไม่ การสังเกตเห็นรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ หรือการเปลี่ยนแปลงเพียงนิดหน่อย อาจสร้างผลดีต่อสินค้า และยอดขายได้อย่างมากมายมหาศาล

พาโค่ ได้อธิบายหลักการ และผลของการสังเกตสถานการณ์จริงที่เขาและทีมงานกว่า 40 ชีวิต ได้ใช้เวลาเฝ้าสังเกตนักชอปปิงในซูเปอร์มาร์เก็ตในสหรัฐอเมริกา จากกล้องวีดิโอที่ซ่อนไว้ และจากการจดบันทึก ผลที่ได้รับนำมา ซึ่งการเพิ่มโอกาสทางการขายได้อย่างไม่น่าเชื่อ ตัวอย่างเช่น

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สูตรสร้างแบรนด์ และมาร์เก็ตติ้งให้ยั่งยืน


ส่วนใหญ่ลูกค้าทุกคนต้องการกำไรมากๆ โจทย์ที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องในอาชีพของผมคือ ลูกค้าต้องการแบรนด์แคมเปญเพื่อไปสร้างยอดขาย

แต่สิ่งที่เราต้องกลับมาตั้งต้นคือ เวลาพูดถึงเรื่องมาร์เก็ตติ้ง หลายคนพูดถึงเรื่องการซื้อ และการขาย แต่ความเป็นจริงแล้วมาร์เก็ตติ้งมีสิ่งที่ซ่อนอยู่

หลักก็คือต้องหากลุ่มเป้าหมายให้ได้ก่อน และต้องรักษากลุ่มเป้าหมาย จากนั้นต้องสร้างการเจริญเติบโตของกลุ่มเป้าหมายให้ได้ในจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ใหญ่ขึ้น จากนั้นเป็นการสร้าง การส่งมอบ และการสื่อสารต่างๆ ในสิ่งที่แบรนด์ของเรามีออกไปสู่ข้างนอก

ลูกค้าส่วนใหญ่ให้ทำในสิ่งที่เป็นฟีเจอร์ แต่ลืมไปว่า ถ้าจะตีคำว่า Sustainability หรือความยั่งยืนให้องค์กรอยู่ได้อย่างน้อย 50 ปี ธุรกิจต้องใส่ทุกอย่างลงไป ไม่ใช่แค่ยอดขาย

เพราะยอดขายจะมาได้อย่างไรหากพนักงานไม่ได้ดูแลสังคม องค์กรไม่ได้ดูแลสังคม ซัพพลายเชนต่างๆ

การตลาด 3.0 ในความเห็นส่วนตัวของผม คือ การร่วมด้วยช่วยกัน (คนละไม้คนละมือ) แต่ละคนช่วยกันอุทิศ ช่วยกันให้อีกสักนิดสักหน่อย เพื่อทำให้สังคมนี้มีคุณค่าและมีความสง่างาม

ศาสตร์การตลาดยุค"โซเชียลเน็ตเวิร์ค"



กระแสฮิต "โซเชียล เน็ตเวิร์ค" ในปัจจุบัน หากย้อนดูในอดีต อาจเทียบเคียงง่ายๆ ได้กับ "สภากาแฟ" ที่เป็นการรวมตัวของกลุ่มต่างๆ

ร่วมกิจกรรมกันในรูปของ "สมาคม" ทั้งหลาย ถือเป็นยุคแรกของ "โซเชียล เน็ตเวิร์ค" ในไทย ที่นักการตลาดได้เรียนรู้มาก่อน แต่ในยุค "ดิจิทัล" เมื่อเป็นเครือข่ายสังคมที่ติดต่อสื่อสารกันได้ง่าย สะดวก และรวดเร็วขึ้น ศาสตร์และกลยุทธ์การสื่อสาร จึงต่างไปจากเดิม

เกรียงกานต์ กาญจนะโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากประสบการณ์ด้านการตลาดมากว่า 20 ปี หรือในยุคที่ "ดิจิทัล โซเชียล เน็ตเวิร์ค" ยังไม่เป็นกระแสฮิต เข้ายึดพื้นที่การสื่อสารในโลกออนไลน์ของกลุ่มคนรุ่นใหม่ในปัจจุบัน

กระแสที่เรียกว่า "ดิจิทัล โซเชียล เน็ตเวิร์ค" เริ่มได้รับความสนใจจากคนไทย อยู่ในช่วงการชุมนุมเสื้อแดงเมื่อ เม.ย.2553 โดยเฉพาะพื้นที่ใน "เฟซบุ๊ค" ถูกใช้แสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง จนทำให้เกิดกลุ่ม "มั่นใจคนไทยเกินล้าน" ขึ้นหลายเพจ แต่ละเพจคนเข้ามากด like นับแสนราย