วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

พลังใหม่ "โซเชียลเน็ตเวิร์ก" สร้างแบรนด์สร้างโอกาสธุรกิจ

องค์กรปัจจุบันตื่นตัวนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารการตลาดมากขึ้นมาก ปรากฏการณ์หลายต่อหลายครั้งในสังคมออนไลน์ "โซเชียลเน็ตเวิร์ก" ทำให้หลายองค์กรเห็นความสำคัญของ "สื่อสังคมออนไลน์" มากขึ้นด้วย


จำนวนผู้ใช้ที่เพิ่มมากขึ้นในแต่ละวัน ทำให้โอกาสทางธุรกิจสูงขึ้นเช่นกัน อีกเหตุผลสำคัญคือ "ฟรี" ทำให้ "การใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กกับการบริหารงานยุคใหม่" อยู่ในความสนใจ และเมื่อเร็ว ๆ นี้ "ประชาชาติธุรกิจ" ร่วมกับสมาคมศิษย์เก่าเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดการสัมมนาในหัวข้อดังกล่าว


"ดร.ศิริกุล เลากัยกุล" ประธานกรรมการบริหาร บริษัท Brandbeing Consultant จำกัด พูดถึงการสร้างแบรนด์ในยุคที่ "โซเชียลเน็ตเวิร์ก" มีอิทธิพลขับเคลื่อนการตลาดว่า ควรนำมาใช้ประโยชน์ เพื่อส่งเสริมการตลาด อย่างแรกคือ Co-Creation มีจุดมุ่งหมายให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการสร้างแบรนด์ เพราะการทำให้ฝ่ายวิจัยและพัฒนาขององค์กรแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้บริโภคโดยตรง ทำให้สินค้าหรือบริการของบริษัทพัฒนาไปในทางที่ลูกค้าต้องการ

ขั้นตอนนี้ทำผ่านโซเซียลเน็ตเวิร์กได้ เช่น จัดกิจกรรมในเฟซบุ๊กให้ลูกค้าร่วมออกแบบเสื้อแลกรางวัล โดยดูจากคนในแฟนเพจที่กดไลก์ ซึ่งบริษัทพอที่จะการันตี ได้ว่าคนที่กดไลก์น่าจะซื้อผลิตภัณฑ์

ถัดมาคือ Gamification เพราะเกมส่งผลถึงจิตวิทยาของผู้บริโภคได้ โดยอาจสอดแทรกข้อมูลผลิตภัณฑ์ขององค์กร เพื่อให้ลูกค้ารับรู้ผ่านเกม แต่ตัวเกมต้องไม่ยากหรือง่ายเกินไป เพื่อให้ผู้เล่นติดและสนุก รวมถึงต้องอัพเดตให้เกมมีฟังก์ชั่นใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นตลอดเวลา นอกจากการให้ข้อมูลสินค้าแล้ว ยังประยุกต์ใช้เพื่อ CSR ขององค์กรได้ด้วย เช่น การปลูกต้นไม้ในเกม

ถอดเศรษฐศาสตร์'ไอโฟน' อีกมุมที่ต้องมอง

ไม่มีใครปฏิเสธว่า"แอปเปิล"เป็นยักษ์ไอทีผู้เปลี่ยนแปลงโลกไม่ใช่แค่ "ผลิตภัณฑ์" หากแต่รวมถึง "ภูมิทัศน์ธุรกิจ" ที่ไม่มีวันเหมือนเดิมอีกต่อไป




รายงานผลประกอบการไตรมาสล่าสุดของ "แอปเปิล" สร้างความประหลาดใจ ด้วยตัวเลขผลกำไรสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยมีรายได้ในไตรมาสแรกปี 2555 ซึ่งสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2554 อยู่ที่ 4.6 หมื่นล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากระดับ 2.6 หมื่นล้านดอลลาร์ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ขณะที่กำไรสุทธิอยู่ที่ 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 118% จากช่วงเดียวกันของปี 2553

ตัวเลขดังกล่าว มาจากยอดขายไอโฟนที่ทำสถิติสูงสุด 37 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้น 128% จากปีก่อนหน้า ส่วนยอดขายไอแพด 15.4 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้น 111% ทว่าเบื้องหลังความสำเร็จดังกล่าวมีเรื่องราวที่สะท้อนความเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะภูมิทัศน์ทางธุรกิจในสหรัฐและเอเชียที่เปลี่ยนไปจากเดิม

"นิวยอร์ก ไทม์" ถอดเศรษฐศาสตร์ไอโฟน เพื่ออธิบายว่า ทำไมแบรนด์อเมริกัน ที่ประสบความสำเร็จสูงสุดเช่นนี้ จึงไม่สามารถผลักดันเศรษฐกิจของสหรัฐผ่านการจ้างงานมหาศาล เหมือนที่บริษัทอเมริกันยักษ์ใหญ่อย่าง "เจนเนอรัล มอเตอร์ส" (จีเอ็ม) และ "เจนเนอรัล อิเล็กทริก" (จีอี) เคยช่วยประคับประคองเศรษฐกิจสหรัฐด้วยวิธีนี้มาแล้ว

ประธานาธิบดีบารัก โอบามา เคยถามเรื่องนี้ต่อหน้า "สตีฟ จ็อบส์" ผู้บริหารคนเก่งของแอปเปิลที่ล่วงลับไปแล้ว เมื่อครั้งที่ประธานาธิบดีโอบามา ร่วมวงรับประทานมื้อค่ำ กับบรรดาผู้บริหารของซิลิคอน วัลเลย์ ในเดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว ประธานาธิบดีโอบามาอยากรู้ว่า ทำไมงานผลิตของแอปเปิลถึงไม่กลับมาจ้างชาวอเมริกัน ขณะที่จ็อบส์ตอบว่า งานเหล่านั้นจะไม่กลับมาอีกแล้ว

2555 ในเกลียวคลื่น 'E-Book'

เป็นเกลียวคลื่นที่เริ่มถาโถมเข้ามาบ้างแล้วเมื่อปีก่อน สำหรับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์นาม 'e-book' ซึ่งเขย่าวงการหนังสือไทยได้มิใช่น้อย..



..มาถึงปีนี้จะมีอะไรคืบหน้าหรือสร้างความประหลาดใจให้พวกเราได้ประจักษ์กันบ้าง


ณ วันนี้คนในวงการหนังสือคงไม่มีใครกล้าเอ่ยปากว่าไม่เคยได้ยินคำว่า 'e-book' (อีบุ๊ค) เพราะมันได้เข้ามามีบทบาทและแบ่งสัดส่วนตลาดหนังสือทั่วโลกไปมากมายแล้ว โดยเฉพาะฟากฝั่งทวีปอเมริกาและยุโรป e-book แทบกลืนตลาดหนังสือไปทั้งตลาด มิหนำซ้ำยังทวีความนิยมขึ้นเรื่อยๆ ด้วย

สำหรับประเทศไทยเองกระแส e-book ก็คืบเข้ามาหลายปีแล้ว แม้ช่วงต้นจะแผ่วๆ ทว่าหนึ่งปีที่แล้วกระแส e-book ก็ถูกจุดประกายขึ้นในประเทศไทยและโหมกระพือเยี่ยงไฟลามทุ่งพร้อมๆ กับความนิยมในโทรศัพท์อัจฉริยะ (smart phone) และบรรดาแทบเล็ต (tablet) กระทั่งจบปีกระต่ายด้วยยอดผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์ไอทีจำพวกนี้อย่างมหาศาล ที่สำคัญจำนวนสำนักพิมพ์และร้านหนังสือที่กระโดดลงร่วมตลาด e-book ในไทยก็มากขึ้นด้วย อาทิ เจ้าตลาดการ์ตูนไทยอย่างบันลือกรุ๊ป, เอเซียบุ๊คส์, ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ฯลฯ นอกจากนี้แล้วก็ยังมีนิตยสารอีกหลายหัว ที่ขยับปรับตัวไปสู่รูปแบบของ 'e-book'

ปีนี้กระแส e-book จะยังลุกโชนหรือไม่ หรือจะมอดดับเป็นเถ้าธุลี จุดประกายวรรณกรรมยินดีหาคำตอบให้แก่มิตรรักทุกท่าน ผ่านผู้เชี่ยวชาญด้าน e-book อย่าง ดร.พลภัทร์ อุดมผล แห่งบริษัท ไอที เวิร์คส เพื่อคลายความสงสัยและเพื่อความกระจ่างแจ้ง

“ควิกเฟรม” ธุรกิจของคนช่างคิด

เวที ตู้โชว์ โต๊ะ เก้าอี้ บันได และสารพัดของใช้ “พับได้”กระทั่ง เวทียกรถหนีน้ำ ผลงานของควิกเฟรม ผู้ผลิตสินค้านวัตกรรม ไม่เล่นในตลาด Me too



“เราจะมีสินค้าใหม่ออกมาอยู่เรื่อยๆ เรียกว่าออกแบบใหม่แทบทุกปี โดยอาศัยประสบการณ์และมองลึกเข้าไปถึงปัญหาของลูกค้า และโอกาสที่เขาจะได้รับจากสินค้าที่เราคิดขึ้น สำหรับผมการออกแบบจะคิดแค่เรื่องความสวยงามไม่ได้ แต่ต้องแก้ปัญหา และสร้างโอกาสให้กับลูกค้าได้ด้วย”

เสียงสะท้อนจาก "วัชรสิทธิ์ ทรงวัฒนโยธิน" กรรมการผู้จัดการ บริษัท ควิกเฟรม ซิสเต็มส์ จำกัด หรือที่คน ควิกเฟรมเรียกกันติดปากว่า “เฮีย”

เขาไม่ได้เป็นผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ หรือของแต่งบ้านมีดีไซน์ ที่ต้องขยันพัฒนา “ของใหม่” เพื่อป้อนตลาด แต่ คือผู้ผลิตสินค้าสนองการจัดงานอีเวนท์ ผู้สร้างสรรค์ เพื่อแก้ปัญหาให้ลูกค้าและหาจุดยืนที่แตกต่างให้กับธุรกิจพันธุ์เล็กของเขา

"เวทีพับได้" มาพร้อมกับบันได โต๊ะ เก้าอี้ ตู้โชว์ เคาน์เตอร์ และหลากหลายของจัดกิจกรรมที่สามารถพับเก็บได้ง่ายดาย เบาแรงเมื่อขนย้าย และสะดวกสบายเมื่อจัดเก็บ นี่เป็นเพียงผลงานบางส่วนของผู้ประกอบการนักคิด และไม่ใช่ครั้งแรกที่เขาเลือกใช้พลังสมองขับเคลื่อนธุรกิจ

สำหรับ "วัชรสิทธิ์” ตั้งแต่วันแรกของการเริ่มต้นธุรกิจ เขาก็คิดไม่เหมือนคนอื่นแล้ว

“ตั้งแต่เกิดมาผมไม่เคยเป็นลูกจ้างใคร ผมเริ่มจากศูนย์ และทำทุกอย่างขึ้นมาด้วยตัวเอง”